เมนูหน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

Wallpaper Ubuntu สวยๆ

รวมรูปภาพ ที่ดีทีสุด Category Ubuntu Wallpaper

8018-1280x1024-[DesktopNexus.com]23723-1280x1024-[DesktopNexus.com]26491-1280x1024-[DesktopNexus.com]5403366593-1115111246497815938-1280x1024-[DesktopNexus.com]868299-1280x1024-[DesktopNexus.com]1437619-1280x1024-[DesktopNexus.com]1844577-1280x1024-[DesktopNexus.com]1881796-1280x1024-[DesktopNexus.com]ibextestimmersion_light_abstract_background_color_76061_1920x1080incomplete_poster_ubuntu_by_badjokernatural-artsteam_the_digital_distribution_microsoft_windows_mac_os_x_playstation_3_linux_valve_95831_1920x1080top-10-ubuntu-hd-wallpaperubuntu_bokeh_by_ttk1opcubuntu_bubbles_linux_93773_1920x1080ubuntu_by_snn_engnubuntu_community___by_chicho21netubuntu_feisty_wallpaper___1_by_floodcasso2ubuntu_grunge_by_undeathspawnubuntu_linux_company_logo_66757_1920x1080ubuntu_linux_orange_red_yellow_abstract_30977_1920x1080ubuntu_logo_hi_def_by_thediamondsaintubuntu_logo_penguins_brand_hi-tech_15257_1920x1080ubuntu_metal_by_fibermarupokubuntu_os_lines_abstract_orange_gray_30924_1920x1080Ubuntu-cakeubuntu-widescreen-wallpaper-for-wallwallpaper_base_ubuntu_modifica_by_iroquis

Linux Mint อีกทางเลือกสำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ

  • OS Type: Linux
  • Based on: Debian, Ubuntu (LTS)
  • แหล่งกำเนิด: Ireland
  • Architecture: i386, x86_64
  • Desktop: Cinnamon, GNOME, KDE, MATE, Xfce
  • Category: Beginners, Desktop, Live Medium

    Linux Mint พัฒนาโดยใช้ Ubuntu เป็นพื้นฐาน ล่าสุดเป็นเวอร์ชั่น 17.3 สามารถติดตั้งได้ทั้งบนเครื่อง 32-bit และ 64-bit

    Linux Mint มีทางเลือกให้ผู้ใช้โปรแกรม Desktop Environment สองโปรแกรมที่แนะนำ คือ Mate และ Cinnamon โดยสามารถเลือกได้จากการดาวน์โหลดไฟล์ ISO
    Download : https://www.linuxmint.com/download.php

    Desktop Environment ต่างๆ
    Xfce Edition
    mint

    Cinnamon Edition
    thumb_15

    Mate Edition
    thumb_mate14

    KDE Edition
    thumb_kde13

    อ้างอิงจาก : http://distrowatch.com/

  • วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

    การปฎิบัติงานนักศึกษาฝึกงาน คอมพิวเตอร์สารสนเทศ

    ห้องทดลองงานซ่อมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิทยาลัยเทคโนโลยีสงขลา
    การติดตั้งระบบ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ Windows Xp Professional ServicePack3
     ฟา-ฮามู1
    ฟา-ฮามู2

    วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

    รู้จักกับ Desktop Environment

    หลายคนอาจเพิ่งเคยได้ยินได้เห็นคำว่า desktop environment และสงสัยว่ามันคืออะไรกันนะ แรกๆผมก็สงสัยเหมือนกันครับ แต่ก็ไม่มีอะไรในกอไผ่ มันคือหน้าเดสก์ทอปของคอมพิวเตอรของทุกๆท่านนั่นเอง

    ใครที่ใช้ Windows อยู่ (คงจะสัก 99% ของคนที่อ่านล่ะมั้ง หุหุ) ก็จะเคยชินกับหน้าตาของวินโดวส์แบบนี้

    นี่แหละครับคือ desktop environment (ซึ่งต่อไปผมจะขอเรียกสั้นๆว่า DE นะครับ) ของวินโดวส์ มันเป็นโปรแกรมหนึ่งที่จะใช้แสดงผลออกมาเป็นกราฟฟิกน่ะครับ ถ้าใครสงสัยและอยากลองล่ะก็ ลองกด ctrl+alt+delete แล้วดูที่ processing tab หาคำว่า explorer นั่นแหละครับคือ DE ของวินโดวส์ ถ้าหากว่ากด kill process หรือปิดมันแล้วล่ะก็ ทุกอย่างจะหายไปเลยครับ แม้เมาส์จะใช้ได้ แต่กดไม่ได้ panel ข้างล่างก็หายไปด้วย เรียกว่าใช้อะไรไม่ได้เลยครับ ถ้าจะใช้ก็ต้องเรียกมันขึ้นมาใหม่ผ่านคำสั่ง run ครับ

    แน่นอนว่าเราเคยชินกับวินโดวส์กันจนไม่รู้เลยว่ามันยังมี DE แบบอื่นๆอีกหลายอย่างมากมาย แต่วินโดวส์มีแบบเดียวครับ นั่นก็เพราะมันเป็นของลิขสิทธิ์ ของซื้อของขาย ว่างั้น

    เรื่องนี้ก็เกียวข้องกับระบบ OS นั่นเอง

    โอ้ว... ผมลืมไป ถ้าใครใช้ Mac OSX คงจะเป็นแบบนี้

    (ขอผ่านเรื่อง Mac OSX แล้วกันนะครับ ยังไม่มีวาสนาจะได้ใช้มันเลย T_T)

    ขอเข้าเรื่อง linux แล้วกันนะครับ

    เนื่องจาก ลีนุกซ์ เป็น OS ฟรี ดังนั้นจึงมีการต่อยอดไปมากมาย รวมทั้ง DE ด้วยครับ 

    DE ที่เป็นที่นิยมก็มีอยู่ไม่กี่ตัวนั่นแหละครับ ตัวแรกที่เป็นที่นิยมอย่างมากมาย และใช้กันอย่างแพร่หลาย มีชื่อว่า GNOME (อ่านว่า กะโนม)

    เป็น DE ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากทีเดียว เนื่องจะมี plugin มากมายที่ทำให้การใช้งานสะดวกสบายขึ้น แต่ก็ใช้ทรัพยากรของเครื่องพอสมควรเหมือนกัน ถือเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆของผู้ที่ทำลีนุกซ์เลยทีเดียว

    ต่อไปก็คงเป็น KDE (K Desktop Environment) ได้รับความนิยมพอสมควรเช่นกัน และมีความเฉพาะตัวแตกต่างกับ gnome พอสมควรเลยทีเดียว

    หลายคน (ใครกันล่ะ?) ก็บอกว่า KDE นี่คล้ายวินโดวส์ที่สุดแล้ว แต่ก็นั่นล่ะครับ ผมเองก็ยังไม่เคยใช้มันเลยเหมือนกัน ที่สำคัญคือ มันกินทรัพยากรเครื่องมากกว่า gnome อีกครับ

    ตัวต่อไปคงเป็น XFCE ซึ่งเป็นตัวที่ผมชอบใช้มาก เพราะมันเป็นแบบ lightweight กินเครื่องน้อย ทำให้การใช้งานเร็วขึ้น (แบบว่า เครื่องผมมันเก่าแล้ว ได้แค่นี้แหละ 555)

    ความจริงดูแล้วก็ไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่ แต่การใช้งานของแต่ละตัวค่อนข้างแตกต่างกันอยู่พอสมควร อย่าง KDE หรือ GNOME จะมีการใช้งานที่ง่ายกว่า และไม่ต้องใช้ command line มากนัก แต่ XFCE ไม่ได้สะดวกสบายขนาดนั้น ตัวโปรแกรมหรือ plugin ยังไม่ครบครันเหมือนกับ 2 ตัวแรก แต่ก็ได้ความเร็วของการใช้งานมาทดแทน เพราะความจริงแล้ว ทั้ง 3 ตัวก็ยังต้องพึ่ง command line เช่นกัน และโปรแกรมการใช้งานที่มาพร้อมกับ DE ก็ต่างกันด้วย ผมจึงสนใจ XFCE มากกว่าตัวอื่นครับ (และเครื่องผมก็ใช้เจ้านี้ได้ดีเสียด้วย หุหุ) 

    นอกจากนี้แล้วในระบบลีนุกซ์นั้นยังมีการใช้งานแบบอื่นที่เรียกว่า window manager (หรือ WM) ครับ จะเป็นตัวที่ใช้แทน DE ในกรณีที่ต้องการให้ระบบใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุด เหมาะกับคอมเครื่องเก่าๆเป็นอย่างดีครับ มีหลายตัวที่เป็น WM เช่น openbox, blackbox, jwm, icewm, fluxbox เป็นต้น

    คิดว่าคงพอรู้จักกันบ้างแล้วนะครับ สำหรับ desktop environment ต่างๆของคอมพิวเตอร์

    คราวนี้จะเป็นอะไรต่อไปก็... ติดตามตอนต่อไปครับ ^_^

    มารู้จักกับ Linux Desktop Environment เช่น Gnome,Unity,KDE, Xfce และ LXDE

    จากที่เคยแปลบทความ รีวิว และการติดตั้ง Xubuntu 13.10 อาจทำให้ใครงงเกี่ยวกับ Desktop Environment ว่าอะไรคือ จริงๆแล้ว Desktop Environment ก็คือส่วน Graphic User Interface ที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน OS ผ่าน Graphic Mode เช่นเดียวกับ Windows หรือ Mac

    สำหรับ Linux แล้วมี Desktop Environment ให้คุณเลือกใช้มากมาย และที่เป็นที่นิยมนั้น มี 4 แบบด้วยกัน คือ GNOME,KDE,Xfce และ LXDE โดยทั้ง 4 อย่างนี้ใช้งานโดยการที่คุณลากเมาส์ไปในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว Click เท่านั้นครับ

    เมื่อเราสอบถามคนที่เคยใช้ Desktop Environment ทั้ง 4 แบบ ทุกคนก็ให้ความเห็นไปต่างๆนาๆว่าชอบ Xfce,KDE,GNOME หรือ LXDE อย่างไร
    เช่นคนที่ใช้ Computer รุ่นเก่าก็มักจะชอบ Xfce หรือ LXDE คนใช้ Computer รุ่นใหม่ๆก็จะชอบ GNOME หรือ KDE ซึ่งเราจะสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับ Desktop Environment แต่ละแบบให้คุณดังนี้

    GNOME?- รุ่นปัจจุบัน, GNOME (GNU?Network Object Model Environment) ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาจาก Version 2.x มาเป็น Version 3 แล้ว โดยคุณมักจะพบ GNOME ติดตั้งบน Linux ตระกูลใหญ่ๆ เช่น Debian,Ubuntu, Fedora และ CentOS

    GNOME 2.x
    gnome2x
    GNOME 2.x มี Taskbar อยู่ 2 แถบ คือบนและล่าง ซึ่งส่วนบนเป็นส่วนของ Menu bar ส่วนแถบบาร์ด้านล้างเป็น แถบเสริม
    ในการทำงาน GNOME 2.x ใช้ RAM น้อยกว่า GNOME 3 แต่ใช้ CPU สูงกว่า GNOME 3 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังใช้ RAM และ CPU น้อยกว่า Unity และ KDE

    ความต้องการของระบบสำหรับ GNOME 2.x:
    RAM : 384 MB
    CPU : 800 MHz

    GNOME 3
    gnome3
    GNOME 3 คือ ตัวล่าสุดซึ่งพัฒนาต่อมาจาก GNOME 2.x

    ความต้องการของระบบสำหรับ GNOME 3:
    RAM : 768 MB
    CPU : 400 MHz

    Unity
    DE-unity
    Unity ได้รับการออกแบบโดย ?Canonical ใช้สำหรับ Netbook และปัจจุบันเป็น Desktop Environment เริ่มต้นของ Ubuntu 11.04 แต่จะมี Option พิเศษให้เลือกใช้แบบ Classic ซึ่งจะเป็น GNOME 2.x

    ความต้องการของระบบสำหรับ Unity:
    RAM : 1 GB
    CPU : 1 GHz

    KDE
    DE-KDE

    KDE (K Desktop Environment) เป็น Desktop Environment ที่มีหน้าตาเหมือน Microsoft Windows เป็นอย่างมาก ซึ่งเหมาะกับผู้ที่เคยใช้ Windows เป็นอย่างดี โดยมี Start Menu อยู่ทางล่างซ้ายของหน้าจอ

    KDE เป็น Default Desktop Environment ของ Linux ตระกูล OpenSUSE, PCLinuxOS และMandriva

    ความต้องการของระบบสำหรับ KDE:
    RAM : 615 MB
    CPU : 1 GHz

    Xfce
    DE-Xfce
    Xfce เป็น Desktop Environment ที่ใช้ Resource น้อยกว่า GNOME หรือ KDE ซึ่ง Xfce เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่จะเลือกใช้สำหรับ Computer รุ่นเก่า
    Xfc เป็น Default Desktop Environment ของ Xubuntu และ PCLinuxOS

    ความต้องการของระบบสำหรับ Xfc:
    RAM : 192 MB
    CPU : 300 MHz

    LXDE
    DE-LXDE
    LXDE (Lightweight X11 Desktop Environment) เป็น Desktop Environment อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะกิน Resource น้อยมาก
    เป็นทางเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับ Computer รุ่นเก่า
    LXDE หน้าตาคล้ายกับ Windows รุ่นเก่า (เช่น Windows 98 or 2000) ซึ่งเป็น Default Desktop Environment ของ
    Lubuntu

    ความต้องการของระบบสำหรับ LXDE:
    RAM : 128 MB
    CPU : 266 MHz

    ก็เลือกใช้ Linux Desktop Environment ให้เหมาะสมกับงานของคุณว่าจะเป็นไปทางด้านไหน ซึ่ง Linux Desktop Environment มีให้คุณเลือกมากมาย มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน สำหรับ Linux Desktop Environment ตัวอื่นๆคุณสามารถหาข้อมูลได้ที่ http://pclosmag.com/html/Issues/201109/page08.html

    ขอให้สนุกกับการใช้ Linux นะครับ

    ที่มา : http://pclosmag.com/html/Issues/201109/page08.html

    ลินุกซ์

    บทความนี้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ สำหรับตัวเคอร์เนลดูที่ ลินุกซ์ เคอร์เนล

    Tux นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์

    Tux นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์

    ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) คือระบบปฏิบัติการที่นิยมตัวหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ลินุกซ์มีลักษณะคล้ายระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยมีลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน

    เริ่มแรกของของลินุกซ์ พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่างๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่างๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ

    ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิม ต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft

    สารบัญ

    ประวัติ

    ลีนุส ทอร์วัสด์ส

    ลีนุส ทอร์วัสด์ส

    ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์เป็นคน แรก คือ ลีนุส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ปี พ.ศ. 2526 ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้น จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม คอมไพเลอร์ โปรแกรมแก้ไขข้อความ และเปลือกระบบยูนิกซ์ ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนลเท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล

    ในพ.ศ. 2534 Torvalds เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนา โครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaar

    ในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว

    Torvalds ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์

    การอ่านออกเสียง

    ในขณะที่ในไทยใช้คำว่า "ลินุกซ์" ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนิยมออกเสียงเป็น "ลินิกซ์" หรือ "ไลนิกซ์" โดยพยางค์ท้ายอ่านเหมือนพยางค์ท้ายของคำว่า"ยูนิกซ์" โดยลินัสผู้ที่คิดค้นลินุกซ์ได้กล่าวไว้ว่า "li" อ่านเหมือนเสียงสระอิ /I/ และ "nux" อ่านเสียงสระเหมือนเสียง /U/ ซึ่งคล้ายเสียง "เออะ" ในภาษาไทย ในอินเทอร์เน็ตมีไฟล์ที่เก็บคำพูดของลินัส ที่พูดว่า "Hello, this is Linus Torvalds, and I pronounce Linux as Linux" เสียง เก็บไว้เนื่องจากมีการโต้เถียงกันมากในเรื่องการออกเสียง

    ถึงแม้ว่ามีการออกเสียงออกไป อย่างมากมาย ลินัสได้เคยกล่าวไว้ว่า การอ่านออกเสียงถูกหรือผิดไม่สำคัญ เพราะทุกคนเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร

    การใช้งาน

    การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภท

    ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย

    เนื่องจากราคาที่ต่ำและการ ปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัทพ์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวีดิโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมัน

    ระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็น ระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มากขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่ง

    เครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้ว

    ส่วนแบ่งการตลาด

    ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบัน ของลินุกซ์มีเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องจากรายงานการวิจัยจาก Company IDC ในปี พ.ศ. 2545 โดย 25% ของเซิร์ฟเวอร์ และ 2.8% ของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำงานระบบลินุกซ์ เนื่องจากคุณสมบัติต่างๆของลินุกซ์ ราคาที่ถูก และระบบความปลอดภัยสูง ทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เติบโตสูงที่สุดในปัจจุบัน

    การติดตั้ง

    การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามา ได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO imageที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากลิขสิทธิ์ของโปรแกรมเป็นแบบGPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่อง

    การทำงานของลินุกซ์สามารถติด ตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่อง ไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอ ลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงที่ราคาถูกกว่า เครื่องทั่วไป

    การเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์

    ส่วน GNU Compiler Collection (GCC) สนับสนุนการเขียนภาษาโปรแกรมที่สำคัญ เช่น ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา รวมถึงภาษาอื่นๆ รวมถึงมี IDE จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Emacs Vim Eclipse KDevelop Anjuta

    วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

    Top 30 Nmap ตัวอย่างคำสั่งสำหรับ Sys / Network Admins

    Custom Search