เมนูหน้าเว็บ

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การนับทางสุริยคติกับจันทรคติต่างกัน

สุริยคติเป็นการโคจรของโลกและดวงอาทิตย์ 1 รอบจะอยู่ประมาณ 365 วันเศษ ประมาณ 12 เดือน เรียกเดือน สุริย วัดจากโลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์
จันทรคติเป็นการโคจรของโลกและจันทร์ 1 รอบจะอยู่ที่ 28 วัน กว่าโดยประมาน นับจากขึ้น 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำ เป็น 1 รอบ เรียกว่าเดือนจันทร์ คือจันทร์มืด 1 ครั้ง และ 1 ปีจันทร์คือจันทร์มืด 12 ครั้ง
ปีทางสุรยคติ มี 365 วันเศษ ปีจันทรคติ มี 354 วันเศษ จึงเป็นวันที่เหลื่อมกันอยู่ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้อธิกมาส(เพิ่มเดือน)และอธิกวาร(เพิ่มวัน)เพื่อให้สอด คล้องกัน และสะดวกในการกำหนดวันต่าง
แบบจันทรคติ บอกเดือนจันทร์ คือ อ้าย ยี่ สาม ...เดือนสิบสอง
แบบสุริยคติ บอกเดือน มกราคม....ธันวาคมคือเมื่อแรกถ้าเดือนมกราคมตรงกับเดือนอ้าย แต่เมื่อผ่านไป 2-3ปี เดือนอ้ายจะไปตรงกับธันวาเป็นต้น จึงต้องมีการปรับเพิ่มวันและเดือนเพื่อให้วันที่กำหนดตามประเพณีนั้น ตรงกับจันทร์โคจรเข้าไปเสวยในฤกษ์ต่าง ๆ ตามประเพณี
เพราะประเพณีและวัฒนธรรมส่วนใหญ่แต่โบราณกำหนดกันจากวันของจันทร์มืดและสว่าง(จากการโคจรของจันท์)
มีสูตรคำนวณและรอบการนับวันและปีทางจันทรคติเอาไว้ด้วยค่ะ ว่าจะต้องเพิ่มหรือลดอย่างไร
โดยปกติแล้วโบราณจะนับจากขึ้นและแรม ก็คือ บันทึกและจดในรูปจันทรคติค่ะ วันที่เป็นปฎิทินสากลทางสุริยคติ และยังมีการใช้ที่เหลื่อมกันอยู่ด้วยตรงช่วงที่ประกาศใช้ปฎิทินสากลด้วย
ส่วน ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เมื่อแรกที่พระยาลิไทยได้ทำการตัดวันนั้นเป็นวันที่ กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน คืออาทิตย์โคจรมาสู่จุดวสันตวิษุวัตร (เป็นเรื่องเกี่ยวกับฤดูกาล)
จันทรคติเป็นการใช้การโคจรของจันทร์เข้าสู่กลุ่มดาวต่าง ๆ และเข้าสู่ฤกษ์ต่าง ๆ และผ่านดาวต่าง ๆ
ส่วนประกาศสงกรานต์นั้นนับแต่วันอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษค่ะเรื่องการ เถลิงศกนั้นยังมีข้อมูลที่ไม่ละเอียดนัก แต่จะลองค้นดูนะว่าประกาศเถลิงศกใหม่นั้นมีการใช้อย่างไร
เพราะ มีการกำหนดจากจันทรคติและกำหนดจากสุริยคติเอาไว้ แล้วแต่ผู้ใช้ค่ะ แต่โดยส่วนใหญ่เราจะใช้แบบสุริยสาสตร์ ถ้าเป็นจันทรคติก็เป็นแบบดาราศาสตร์ หรือโหราศาสตร์จันทรคติ
เปลี่ยนภูมิพยากรณ์ตามอายุไทย โดยปรับปีที่จะคำนวณให้เป็นปีจันทรคติ เสียก่อน ทั้งปีปัจจุบันและปีกำเนิด เอาพ.ศ. ปัจจุบันตั้งลบด้วยพ.ศ.กำเนิด ลัพท์เป็นอายุไทย
เอาอายุไทยที่คำนวณได้มาคำนวณหาภูมิพยากรณ์อีกที (จากโหราศาสตร์ประยุกต์) เป็นเรื่องของการคำนวณ และในแบบสากลยังมีการใช้ปฎิทินจากการคำนวณจากพิกัดดาวจริง ๆ บนท้องฟ้าอีกอย่างหนึ่งด้วย
ป็นเรื่องของการนับวันทางปฎิทินและการคำนวณค่ะเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้อง กับวัฒนธรรมประเพณีที่ใช้กันมา จะใช้ในการพยากรณ์นั้นแล้วแต่ผู้ใช้ถนัด ส่วนในเรื่องนักษัตตรนั้นนับ หลังสงกรานต์จ๊ะ

1 ความคิดเห็น:

Custom Search