วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552
ความแตกต่างของระบบ NTSC - PAL
NTSC หรือย่อมาจาก The National Television System Committee มีมาตั้งแต่ปี 2483 เป็นระบบสัญญาณภาพระบบแรกของโลก โดย FCC เป็นผู้กำหนดมาตราฐานสัญญาณภาพนี้ คุณสมบัติของ NTSC นั้นจะมีจำนวนเส้น 525 เส้น ส่วนจำนวนภาพต่อวินาที มีถึง 30 ภาพต่อวินาที ส่วนประเทศที่เหมาะกับระบบสัญญาณภาพนี้คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น พม่า สังเกตดี ๆ ครับ เครื่องเล่นเกมส์พวก Playstation มาจากประเทศใด ? ข้องสังเกตอีกประการนึงคือ ประเทศที่ใช้สัญญาณภาพ NTSC จะใช้กระแสไฟฟ้าในบ้านเพียง 110V/60Hz ( ถ้าเอาเลข 60 มาหาร 2 เท่ากับ 30 ใช่ไหม )
ในบ้านเราเองนั้นยุคแรก ๆ สมัยช่อง 4 บางขุนพรหม แม้แต่ช่อง ททบ.7 ก็เคยใช้ระบบสัญญาณภาพ NTSC ออกอากาศในยุคแรก ๆ
อ้างอิง:
สรุป NTSC
- สัญญาณภาพ 525 line/60Hz
- จำนวนภาพ 30 ภาพ / วินาที
- ใช้ในประเทศที่ใช้ไฟ 110V/60Hz
ส่วนระบบ PAL หรือย่อมาจาก phase alternation line ได้พัฒนาโดย Walter Bruch ชาวเยอรมัน ในปี 1963 ที่ได้เอาขั้วหลอดภาพ NTSC มากลับแล้วทำอะไร ... ต่อ
และปรับปรุงใหม่ เนื่องจาก NTSC แสดงสีไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ( ลองสังเกตดู ) ลักษณะของระบบ PAL มีเส้นมากถึง 625 เส้น แต่จำนวนภาพมี 25 ภาพต่อวินาที ( ถ้าเป็นฟิลม์ภาพยนตร์ ใช้ 24 ภาพต่อวินาที ) ประเทศที่ใช้ระบบภาพนี้ก็มีอย่างที่แน่ ๆ ก็พี่ไทย มีอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เอาง่าย ๆ ว่า ทางยุโรป ทั้งนั้นแหละ
อ้างอิง:
สรุป PAL
- สัญญาณภาพ 625 line/50Hz
- จำนวนภาพ 25 ภาพ / วินาที
- ใช้ในประเทศที่ใช้ไฟ 220V/50Hz
ถ้าหากว่าระบบโทรทัศน์ กับ เครื่องเล่นที่ต่อเข้าโทรทัศน์ ต้องเป็นระบบภาพเดียวกัน ถ้า PAL ก็ต้อง PAL กันทั้งคู่ หรือถ้าเป็น NTSC ก็ต้อง NTSC ทีนี้เนี่ย ถ้าเกิดว่าใครต่อเข้าไปแล้วเกิดภาพไว้ทุกข์ ( ขาว-ดำ ) ก็แนะว่าให้ปรับทีวี จะมีพวกโหมดภาพให้เลือกอย่าง PAL PAL60 NTSC SECAM เป็นต้น จะทำให้ท่านได้เล่นอย่างมีสีสัน
แล้ว NTSC กับ PAL อันไหนดักว่ากันหละ ก็ขอบอกว่า ถ้าเป็นเรื่องรายละเอียดจำนวนเส้นภาพ PAL ดีกว่าเพราะมี 625 เส้น ( ถ้าไม่รวมถึง SECAM ) แต่การบันทึกภาพนั้น ระบบ PAL จะใช้ม้วนเทปน้อยว่า NTSC ในเวลาที่เท่ากัน เพราะจำนวนภาพต่อวินาที PAL น้อยกว่า ใครใช้ NTSC บันทึกวีดีโอ ก็คงเปลืองกว่า PAL อีก แต่ทำไงได้ ถ้าหากท่านอยู่ญี่ปุ่น ก็ต้องทนจำเจกับระบบภาพ NTSC เพราะเรื่องกระแสไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า
ไหน ๆ ก็ไหน จะไม่พูดถึง SECAM เดี่ยวจะเคลียร์ไม่จบงาน ก็คือระบบนี้ย่อมาจาก Séquentiel couleur à mémoire ในปี 1956 ระบบนี้เหมือนเอาบางส่วนของ NTSC กับ PAL มารวมกัน ๆ แต่ไม่ค่อยนิยมเพราะ ใช้เส้นมากถึง 800 - 1000 เส้น ก็ตาม ใช้ไฟ 60Hz แต่ว่า ความถี่นั้น ใช้แถบความกว้างมาก จนมีช่องไม่กี่ช่อง ก็อาจจะไม่นิยมในบ้านเรา ก็มีฝรั่งเศส ประเทศแถบรัสเซีย หรือ ประเทศแถบผู้ก่อการร้าย และในแอฟริกา ยังใช้ระบบนี้
ก็เอามาลองอ่าน ๆ หละกันครับ
ตัวย่อ :
FCC ย่อมาจาก Federal Communications Commission
ปล.ถ้าใครอยากลอง NTSC นั้นลองหาตาม TV ต่างประเทศเอา
ลอกเขามาอีกทีครับ
อัตราส่วนภาพ 16:9 หรือ 4:3
ถ้าคุณยังใหม่กับเรื่องอัตราส่วนภาพเมื่อเราพูดถึง 4:3 หรือ 16:9 นั่นหมายถึงเรากำลังพูดถึงรูปทรงของขนาดภาพที่เราเห็นจากภาพยนตร์หรือวีดีโอดีวีดี หรือที่เรียกว่า “ Aspect Ratio “ เครื่องรับโทรทัศตามบ้านที่เราใช้กันอยู่มีอัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio) 4:3 นั่นหมายความว่าภาพที่เราเห้นจะมีขนาดกว้าง 4 ส่วนและสูง 3 ส่วน เช่นกันในทีวีรุ่นใหม่ HDTV เป็น 16:9 คือมีอัตราส่วนกว้าง 16 ส่วนและสูง 9 ส่วน ดังนั้นเราจึงเห็น HDTV มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอน ความยาวในแนวนอนของ HDTV จะมากกว่าทีวีแบบธรรมดาที่เราใช้กันอยู่
ปัญหาก็คือไม่ว่าจะเป็นทีวีหรือโปรเจคเตอร์ล้วนแล้วแต่มาพร้อมกับอัตราส่วนภาพเฉพาะที่ไม่เป็น 4:3 ก็จะเป็น 16:9 อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ภาพยนตร์หรือวีดีโอดีวีดีที่มีจำหน่ายในท้องตลาดก็จะทำมาด้วยอัตราส่วน (Aspect Ratio)หลายๆขนาดต่างกัน รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์วีดีโอที่ถูกผลิตด้วยอัตราส่วน 4:3 ซึ่งบางทีจะบอกเป็น “ 1.33 “ (4 หารด้วย 3 = 1.33) และรายการต่างๆหรือภาพยนตร์ที่ผลิตมาสำหรับ HDTV จะเป็นอัตราส่วน 16:9 บางทีก็จะบอกเป็น “ 1.78 “ (16 หารด้วย 9 = 1.78) อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่มีเพียงแค่สองระบบนี้เท่านั้นแต่ยังมีระบบอัตราส่วนภาพต่างๆที่ถูกผลิตขึ้นมาอีกมากมาย ภาพยนตร์ มิวสิกวีดีโอ สิ่งอื่นๆที่บรรจุอยู่ในแผ่นดีวีดีล้วนมาพร้อมกับอัตราส่วนต่างๆกันทั้งสิ้นเช่น 1.33 , 1.78 , 1.85 , 2.00 , 2.35 , 2.4 , 2.5 และอีกมาก ดังนั้นจึงยังไม่มีมาตราฐานที่แน่นอนสำหรับอัตราส่วนของภาพวีดีโอ แต่มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอน นั่นคือไม่ว่าคุณจะใช้โปรเจคเตอร์แบบไหน 4:3 หรือ 16:9 ก็ไม่มีทางที่เครื่องโปรเจคเตอร์ของคุณจะสามารถแสดงภาพให้เหมาะสมกับขนาดอัตราส่วนภาพที่มากับวีดีโอในรูปแบบต่างๆได้เลย ยังไงคุณก็ต้องรับชมภาพในแบบ Native อยู่ดี ดังนั้นถ้าไม่มีวิธีที่สมบูรณ์แบบแล้ววิธีไหนละที่จะเป็นวิธีที่ดีและถูกต้องที่สุดสำหรับการติดตั้งระบบการชมภาพของคุณ ? คำตอบง่ายๆคือ ไม่ว่าโปรเจคเตอร์หรือภาพที่จอจะเป็นขนาดไหน มีสองวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการกับระบบการชมภาพในโฮมเธียเตอร์ของคุณ คุณสามารถได้ภาพแบบ 4:3 จากโปรเจคเตอร์แบบ 4:3 หรือ เลือกใช้โปรเจคเตอร์แบบ 16:9 เพื่อให้ได้ภาพ 16:9 ทั้งสองแบบต่างก็มีข้อดีและข้อเสียซึ่งคุณต้องชั่งน้ำหนักดูว่าจะใช้แบบไหน ไม่มีแบบไหนดีกว่ามันเป็นแค่ความแตกต่างเท่านั้น
ถ้า HDTV หรือ widescreen DVD คือการชมภาพในแบบที่คุณชอบดูแล้วสบายตาก็ไม่ต้องไปคิดมากว่าภาพในแบบ 4:3 จะออกมาเป็นยังไง ใช้ความชอบของคุณเป็นเครื่องตัดสินง่ายที่สุด 16:9 โปรเจคเตอร์ฉายภาพบนจอ 16:9 ดีที่สุดแล้วสำหรับชมภาพแบบ widescreen รายการโทรทัศน์ใหม่ๆสำหรับ HDTV ในบางประเทศก็มีการผลิตมาในแบบ 16:9 เพื่อให้พอดีกับจอโทรทัศน์แบบ 16:9 ซึ่งก็ให้ภาพออกมาดี ข้อดีก็คือคุณจะได้รับชมรายละเอียดทั้งหมดของภาพรวมทั้งอัธรสของการแสดงในแบบ widescreen ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตามควรคิดไว้เสมอว่าเมื่อภาพยนตร์ต่างๆถูกนำมาทำเป็นดีวีดีก็จะมีเรื่องของขนาดภาพเข้ามาเกี่ยวข้องให้ปวดหัวแน่นอน มีภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่มีขนาดกว้างกว่า 16:9 แบบปรกติเช่น The lord of the Rings , American Beauty , Star wars/Phantom Menace , Seabiscuit ทั้งหมดมาพร้อมกับอัตราส่วน 2.35:1 ไม่ใช่ 1.78:1 ดังนั้นเมื่อรับชมภาพยนตร์เหล่านี้ด้วยจอ 16:9 คุณจะได้ขอบดำที่ด้านบนและด้านล่างของจอภาพเพิ่มขึ้นมา ขอบดำที่เกิดขึ้นจะมีขนาดประมาณ 12 เปอร์เซนต์ของความสูงของภาพ ขอบดำแม้จะไม่ใหญ่มากนักเมื่อเทียบกับการใช้จอภาพขนาด 4:3 แต่มันก็จะอยู่ที่นั่นตลอดการรับชมของเรา
การ ที่จะทำให้ขอบส่วนเกินนี้ไม่เป็นที่รำคาญต่อสายตาได้นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับ ว่าเครื่องโปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้มืดระดับไหนและก็ขึ้นอยู่กับว่าจอภาพ ชนิดที่คุณใช้ด้วย จอภาพสีขาวทั่วๆไปจะทำให้เห็นขอบส่วนเกินค่อนข้างชัดเจน จอภาพชนิด High Contrast Gray จะ ทำให้ขอบส่วนเกินแลดูมืดลงด้วยจอภาพชนิดนี้และโปรเจคเตอร์ที่มีค่าคอนทรา สสูงๆจะทำให้ขอบส่วนเกินนี้ไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนนักตามที่มันควรจะ เป็น
อย่างไรก็ตามถ้าคุณเป็นคนที่พิถีพิถันต้องการอะไรที่สมบูรณ์แบบและเรื่องเงินก็ไม่เป็นปัญญาสำหรับคุณ คุณคงต้องสั่งอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคพิเศษเพื่อทำให้จอแคบลงตามแนวนอนเมื่อต้องการฉายภาพยนตร์ที่มีขนาดกว้างกว่า 16:9 ปรกติ มัน เป็นอุปกรณ์เสริมที่สั่งซื้อได้พร้อมกับจอรับภาพที่มีลักษณะเป็นแผ่นสีดำ ซึ่งสามารถเปิดหรือปิดขอบด้านบนและด้านล่างของจอภาพเพื่อเปลี่ยนขนาดของ พื้นที่การมองภาพบนจอภาพได้ อุปกรณ์นี้ใช้เพื่อสร้างกรอบสีดำรอบๆภาพสามารถปรับขนาดได้ไม่ว่าภาพยนตร์ที่คุณรับชมจะมีอัตราส่วนแบบใด แต่ด้วยจอรับภาพรุ่นใหม่และโปรเจคเตอร์ที่มีค่าคอนทราสสูงขอบดำส่วนเกินจะมืดมากขึ้นและไม่ค่อยเป็นที่สังเกตุมากนัก
การฉายภาพ 4:3 ด้วยระบบที่เป็นแบบ 16:9
A:ภาพที่ได้จากการฉายโดยไม่มีการปรับแต่งใดๆจะมีขอบดำที่ด้านข้างของภาพทั้งสองด้าน
-------------------------
B:การฉายภาพโดยใช้ฟังชันปรับขนาดที่มีมาพร้อมกับเครื่องโปรเจคเตอร์จะทำการยืดขนาดภาพ 4:3 ออกไปตามแนวนอนเพื่อให้พอดีกับพื้นที่การมองภาพแบบ 16:9 ในการปรับภาพลักษณะนี้ภาพของคนจะแลดูเตี้ยลงและอ้วนผิดปรกติ จริงอยู่ที่มันทำให้มีพื้นที่การมองภาพในแบบ 16:9 แต่ก็ทำให้รูปร่างของวัตถุผิดเพี้ยนไปซึ่งหลายๆคนก็รับไม่ได้เหมือนกัน
----------------------------
C:การใช้การซูมภาพ 4:3 แทน ที่จะใช้การยืดขนาดคือการใช้วิธีง่ายๆโดยการตัดส่วนที่อยู่ด้านบนกับด้าน ล่างของภาพออกและแสดงภาพเฉพาะบริเวณตรงกลางของภาพที่มีขนาดพอดีกับอัตราส่วน 16:9 ภาพที่ได้จะมีขนาดใหญ่กว่าปรกติเหมือนกับเวลาเรามองดูใกล้ๆจอภาพ
----------------------------
D:โปรเจคเตอร์ 16:9 รุ่นใหม่ๆจะมาพร้อมด้วยการแก้ปัญหาในเรื่องอัตราส่วนของภาพเมื่อใช้ชมภาพที่เป็น 4:3 ซึ่งจะทำให้ภาพมีขนาด 16:9 โดยมีความผิดเพี้ยนของภาพน้อยที่สุด กระบวน การนี้จะยังคงสภาพอัตราส่วนดั้งเดิมบริเวณตรงกลางของภาพเอาไว้และทำการยืด ขยายส่วนที่อยู่ด้านข้างออกเพื่อให้ได้พื้นที่การมองภาพขนาดพอดีกับจอ 16:9 บาง ทีวิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วในการที่จะได้มาซึ่งภาพที่เต็มเฟรม และยังใช้ในการแก้ปัญหาของการกระจายสัญญาณโทรทัศน์หรือการส่งสัญญาณทีวีใน ส่วนขอบของภาพที่ไม่ค่อยบรรจุส่วนสำคัญของเนื้อหาไว้มากเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามการตัดส่วนขอบของภาพออกยังต้องทำอย่างรอบคอบเป็นพิเศษ ในการชมภาพหรือภาพยนตร์เก่าๆในแบบ 16:9 ที่มีขอบดำด้านข้างและยังเป็นวิธีเดียวที่จะรับชมภาพให้ได้ในแบบที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการให้เราเห็น
------------------------------
ที่มา : http://acs8369.blogspot.com/2007/02/169-43.html
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552
e-ink อีอิงค์ โซล่า เซล พลังงาน แสงอาทิตย์
[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] รายงานข่าวเทคโนโลยีวันนี้ Neoluxiim บริษัทจากแดนกิมจิได้พัฒนาจอแสดงผลอีอิงค์ต้นแบบที่สามารถทำงานด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ออกมาแล้ว เหมาะกับการใช้ทำป้ายโฆษณาณ.จุดขาย ซึ่งช่วยให้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตเป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น และช่วยลดปัญหาโลกร้อน
Neoluxiim กล่าวว่า จอแสดงผลอีอิงค์พลังแสงอาทิตย์ (จากแผงโซล่าเซล) นี้จะสามารถทำงานได้ แม้จะมีแค่แสงสว่างภายในห้องเท่านั้น โดยจะทำงานได้นานต่อเนื่องถึง 18 เดือน สำหรับขนาดใหญ่สูงสุดของจอแสดงผลอีอิงค์พลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ที่ 26x12 เซ็นติเมตร และมีความหนาเพียง 7.5 ม.ม. เท่านั้น เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสีเขียวที่น่าสนใจมากทีเดียว
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552
DTAC ออก Aircard เตรียมเข้าสู่สมรภูมิ 3G
หลายๆ คนก็คงทราบดีแล้วว่าในที่สุดประเทศไทยก็ใกล้ที่จะมีการแข่งขันการให้บริการ 3G จริงๆ แล้ว วันนี้ DTAC ได้ออก Aircard สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายด้านข้อมูลที่สนับสนุน 3G แล้วครับ โดย Aircard รุ่น E1553 นี้มีคุณสมบัติคือ
- เชื่อมต่อแบบ USB และเสียบ MicroSD เป็น Flash Drive ได้ ลักษณะคล้ายกับ Aircard ที่ปล่อยให้ทดสอบ 3G กัน
- สนับสนุน GPRS, EDGE รวมถึง 3G 850/2100 MHz ที่จะเปิดให้บริการในอนาคต
- มาพร้อมซิมที่สนับสนุน EDGE/GPRS แต่ยังไม่สามารถใช้ 3G ได้ (ติดที่ซิม ถ้าใครมีซิม 3G ของ DTAC ก็ใช้ได้)
- แบบรายเดือน ราคา 2,700 บาท พร้อมอินเทอร์เน็ต 100 ชั่วโมงนาน 1 เดือน, แบบเติมเงิน ราคา 2,600 บาท พร้อมอินเทอร์เน็ต 10 ชั่วโมงนาน 3 เดือน
- ไม่ล็อกซิม จะเอามาเสียบซิมทรูเล่น 3G ก็น่าจะได้
- ประกัน 1 ปี เปลี่ยนคืนได้ใน 30 วัน
- โปรแกรมเชื่อมต่อต้องการวินโดวส์ (ไม่แน่ใจว่าสาวกเพนกวินกับแอปเปิลจะใช้ได้หรือไม่)
ดูจากราคาแล้วค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เมื่อเทียบกับ Aircard USB ที่ขายอยู่ให้เกลื่อน (ราคา 3,000-4,000 บาท) หาซื้อได้ที่สำนักงานบริการลูกค้าและ dtac center ครับ
ที่มา: DTAC Aircard, กระทู้ใน pantip.com
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552
หินดวงจันทร์จากนาซ่าเป็นของปลอม!!!
นาซ่านั้นแจกหินดวงจันทร์ที่อ้างว่าเก็บมาจากดวงจันทร์ไปให้กว่า 100 ประเทศในช่วงปี 1970 เพื่อแสดงความเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศยาน แต่แล้ววันนี้อาจจะเป็นวันหน้าแตกอีกวันหนึ่งของนาซ่าเมื่อพิพิธภัณฑ์ Rijksmuseum แห่งเนเธอร์แลนด์ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ระบุว่าหินที่นาซ่าแจกมานั้นเป็นของ ปลอม
หินก้อนดังกล่าวเป็นหินที่ทูตสหรัฐฯ มอบให้กับนายกรัฐมนตรีของเนเธอร์แลนด์ชื่อว่า Willem Drees Jr ในปี 1969 และเมื่อนายกรัฐมนตรีท่านนี้ได้เสียชีวิตลงก็ได้บริจาคหินก้อนนี้ให้กับทาง พิพิธภัณฑ์ Rijksmuseum นี้
ต่อมามีข้อสงสัยว่าทำไมสหรัฐฯ จึงให้ก้อนหินสำคัญเช่นนี้มาง่ายนัก จึงมีการตรวจสอบโดยนักวิจัยและพบว่าก้อนหินนี้เป็นเพียงไม้ที่กลายเป็นหิน เท่านั้น และมีมูลค่าเพียงไม่กี่พันบาท
สถานทูตสหรัฐฯ ระบุว่ากำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่
ที่มา - PhysOrg