บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายใน เครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย(Broadcasting)ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกัน เท่านั้นการรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัว รับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้น ส่งให้บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสาร ภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LANออกไปได้เรื่อยๆโดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนักเนื่องจากการ ติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจร ของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layerจึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
Bridge
อุปกรณ์ Bridge เป็นสิ่งที่ใช้แก้ไขปัญหาในเรื่องสัญญาณที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายมากเกินไปได้ โดยจะจัดแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือ Network Segment และจะทำการกลั่นกรองสัญญาณเท่าที่จำเป็นเพื่อส่งให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูก ต้องได้ ทำให้สัญญาณไม่มารบกวนกันหรือมีสัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องมาในเครือข่ายย่อย โดยไม่จำเป็น แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีความจำเป็นต้องการสื่อสารกันข้ามเครือข่ายเป็นจำนวนมากแล้ว อุปกรณ์ Bridge ก็อาจกลายเป็นเสมือนคอขวดที่ทำให้เครือ่ข่าย มีการทำงานช้าลงได้
การทำงานของ Bridge
หลักการทำงานของ Bridge จะดูแลข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาหมายเลขของเครื่อง หรือตามศัพท์ทางเครือข่าย คือ Media Access Control (MAC Address หรือ Station Address) Bridge จะทำงานใน Data Link Layer หรือ Layer ที่ 2 ของ OSI โมเดล คือ มองข้อมูลที่รับส่งกัน เป็น Packet แล้วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น IP หรือ IPX หรือโปรโตคอลใด ๆ หรือก็คือ ไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Bridge จะดูเฉพาะ Address ปลายทางแล้วถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันก็จะส่งต่อให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่อง ที่เป็นผู้รับปลายทางนั้นอาจทำได้หลายเส้นทางต่าง ๆ กัน
ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของ Bridge คือในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ทราบ Station Address จะมีการส่งข้อมูล พิเศษที่เรียกว่า Broadcast Frame เข้าไปในเครือข่าย เมื่อข้อมูลนั้นผ่านมาที่ Bridge ก็จะมีการส่งข้อมูล Broadcast นี้ต่อไปยังทุกเครือข่ายย่อยทั้งหมดที่ ตนอยู่ โดยไม่มีการเลือกหรือกลั่นกรองใด ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมดถูกขัดจังหวะเพื่อรับข้อมูลดัง กล่าว ดังนั้นถ้าข้อมูลที่ Broadcast มากก็จะ ทำให้เครือข่ายมีปัญหาเรื่องปริมาณข้อมูลหนาแน่น และความเร็วในการทำงานลดลงได้
อุปกรณ์ Bridge เป็นสิ่งที่ใช้แก้ไขปัญหาในเรื่องสัญญาณที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายมากเกินไปได้ โดยจะจัดแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือ Network Segment และจะทำการกลั่นกรองสัญญาณเท่าที่จำเป็นเพื่อส่งให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูก ต้องได้ ทำให้สัญญาณไม่มารบกวนกันหรือมีสัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องมาในเครือข่ายย่อย โดยไม่จำเป็น แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีความจำเป็นต้องการสื่อสารกันข้ามเครือข่ายเป็นจำนวนมากแล้ว อุปกรณ์ Bridge ก็อาจกลายเป็นเสมือนคอขวดที่ทำให้เครือ่ข่าย มีการทำงานช้าลงได้
การทำงานของ Bridge
หลักการทำงานของ Bridge จะดูแลข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาหมายเลขของเครื่อง หรือตามศัพท์ทางเครือข่าย คือ Media Access Control (MAC Address หรือ Station Address) Bridge จะทำงานใน Data Link Layer หรือ Layer ที่ 2 ของ OSI โมเดล คือ มองข้อมูลที่รับส่งกัน เป็น Packet แล้วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น IP หรือ IPX หรือโปรโตคอลใด ๆ หรือก็คือ ไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Bridge จะดูเฉพาะ Address ปลายทางแล้วถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันก็จะส่งต่อให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่อง ที่เป็นผู้รับปลายทางนั้นอาจทำได้หลายเส้นทางต่าง ๆ กัน
ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของ Bridge คือในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ทราบ Station Address จะมีการส่งข้อมูล พิเศษที่เรียกว่า Broadcast Frame เข้าไปในเครือข่าย เมื่อข้อมูลนั้นผ่านมาที่ Bridge ก็จะมีการส่งข้อมูล Broadcast นี้ต่อไปยังทุกเครือข่ายย่อยทั้งหมดที่ ตนอยู่ โดยไม่มีการเลือกหรือกลั่นกรองใด ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมดถูกขัดจังหวะเพื่อรับข้อมูลดัง กล่าว ดังนั้นถ้าข้อมูลที่ Broadcast มากก็จะ ทำให้เครือข่ายมีปัญหาเรื่องปริมาณข้อมูลหนาแน่น และความเร็วในการทำงานลดลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น