เมนูหน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

ความแตกต่างของระบบ NTSC - PAL

หลาย ๆ คนที่ใช้พวกเครื่องเล่นเกมส์คอนโซล อย่าง Playstation เป็นต้นเนี่ยเคยสังเกตไหมครับ เกมส์ ก็ดี เครื่องเล่นก็ดี มักจะระบุถึง NTSC กับ PAL 2 ตัวนี้มันคืออะไร ? แล้วความเหมาะสมในการใช้สัญญาณภาพ 2 อย่างนี้ที่ว่า และก็บ้านเราใช้ระบบนี้ เพราะอะไร เหตุอะไร

NTSC หรือย่อมาจาก The National Television System Committee มีมาตั้งแต่ปี 2483 เป็นระบบสัญญาณภาพระบบแรกของโลก โดย FCC เป็นผู้กำหนดมาตราฐานสัญญาณภาพนี้ คุณสมบัติของ NTSC นั้นจะมีจำนวนเส้น 525 เส้น ส่วนจำนวนภาพต่อวินาที มีถึง 30 ภาพต่อวินาที ส่วนประเทศที่เหมาะกับระบบสัญญาณภาพนี้คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น พม่า สังเกตดี ๆ ครับ เครื่องเล่นเกมส์พวก Playstation มาจากประเทศใด ? ข้องสังเกตอีกประการนึงคือ ประเทศที่ใช้สัญญาณภาพ NTSC จะใช้กระแสไฟฟ้าในบ้านเพียง 110V/60Hz ( ถ้าเอาเลข 60 มาหาร 2 เท่ากับ 30 ใช่ไหม )

ในบ้านเราเองนั้นยุคแรก ๆ สมัยช่อง 4 บางขุนพรหม แม้แต่ช่อง ททบ.7 ก็เคยใช้ระบบสัญญาณภาพ NTSC ออกอากาศในยุคแรก ๆ

อ้างอิง:
สรุป NTSC
- สัญญาณภาพ 525 line/60Hz
- จำนวนภาพ 30 ภาพ / วินาที
- ใช้ในประเทศที่ใช้ไฟ 110V/60Hz
ส่วนระบบ PAL หรือย่อมาจาก phase alternation line ได้พัฒนาโดย Walter Bruch ชาวเยอรมัน ในปี 1963 ที่ได้เอาขั้วหลอดภาพ NTSC มากลับแล้วทำอะไร ... ต่อ
และปรับปรุงใหม่ เนื่องจาก NTSC แสดงสีไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ( ลองสังเกตดู ) ลักษณะของระบบ PAL มีเส้นมากถึง 625 เส้น แต่จำนวนภาพมี 25 ภาพต่อวินาที ( ถ้าเป็นฟิลม์ภาพยนตร์ ใช้ 24 ภาพต่อวินาที ) ประเทศที่ใช้ระบบภาพนี้ก็มีอย่างที่แน่ ๆ ก็พี่ไทย มีอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เอาง่าย ๆ ว่า ทางยุโรป ทั้งนั้นแหละ
อ้างอิง:
สรุป PAL
- สัญญาณภาพ 625 line/50Hz
- จำนวนภาพ 25 ภาพ / วินาที
- ใช้ในประเทศที่ใช้ไฟ 220V/50Hz

ถ้าหากว่าระบบโทรทัศน์ กับ เครื่องเล่นที่ต่อเข้าโทรทัศน์ ต้องเป็นระบบภาพเดียวกัน ถ้า PAL ก็ต้อง PAL กันทั้งคู่ หรือถ้าเป็น NTSC ก็ต้อง NTSC ทีนี้เนี่ย ถ้าเกิดว่าใครต่อเข้าไปแล้วเกิดภาพไว้ทุกข์ ( ขาว-ดำ ) ก็แนะว่าให้ปรับทีวี จะมีพวกโหมดภาพให้เลือกอย่าง PAL PAL60 NTSC SECAM เป็นต้น จะทำให้ท่านได้เล่นอย่างมีสีสัน



แล้ว NTSC กับ PAL อันไหนดักว่ากันหละ ก็ขอบอกว่า ถ้าเป็นเรื่องรายละเอียดจำนวนเส้นภาพ PAL ดีกว่าเพราะมี 625 เส้น ( ถ้าไม่รวมถึง SECAM ) แต่การบันทึกภาพนั้น ระบบ PAL จะใช้ม้วนเทปน้อยว่า NTSC ในเวลาที่เท่ากัน เพราะจำนวนภาพต่อวินาที PAL น้อยกว่า ใครใช้ NTSC บันทึกวีดีโอ ก็คงเปลืองกว่า PAL อีก แต่ทำไงได้ ถ้าหากท่านอยู่ญี่ปุ่น ก็ต้องทนจำเจกับระบบภาพ NTSC เพราะเรื่องกระแสไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า
ไหน ๆ ก็ไหน จะไม่พูดถึง SECAM เดี่ยวจะเคลียร์ไม่จบงาน ก็คือระบบนี้ย่อมาจาก Séquentiel couleur à mémoire ในปี 1956 ระบบนี้เหมือนเอาบางส่วนของ NTSC กับ PAL มารวมกัน ๆ แต่ไม่ค่อยนิยมเพราะ ใช้เส้นมากถึง 800 - 1000 เส้น ก็ตาม ใช้ไฟ 60Hz แต่ว่า ความถี่นั้น ใช้แถบความกว้างมาก จนมีช่องไม่กี่ช่อง ก็อาจจะไม่นิยมในบ้านเรา ก็มีฝรั่งเศส ประเทศแถบรัสเซีย หรือ ประเทศแถบผู้ก่อการร้าย และในแอฟริกา ยังใช้ระบบนี้

ก็เอามาลองอ่าน ๆ หละกันครับ

ตัวย่อ :
FCC ย่อมาจาก Federal Communications Commission

ปล.ถ้าใครอยากลอง NTSC นั้นลองหาตาม TV ต่างประเทศเอา

ลอกเขามาอีกทีครับ

อัตราส่วนภาพ 16:9 หรือ 4:3

ณ วันนี้ผู้เชี่ยวชาญมักจะบอกเราว่าระบบโฮมเธียเตอร์ควรจะเป็นโปรเจคเตอร์ที่ฉายภาพด้วยอัตราส่วน 16:9 จอภาพก็ควรจะป็น 16:9 ด้วย คำพูดนี้อาจถูกต้องสำหรับผู้คนส่วนใหญ่และเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่าความนิยมในทีวีแบบ 4:3ที่มีมาแต่ดั้งเดิมกำลังจะถูกแทนที่ด้วยทีวีรุ่นใหม่ที่มีขนาด 16:9 แต่นั่นอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับคุณก็ได้ มีโปรเจคเตอร์ 4:3 ในท้องตลาดอยู่จำนวนหนึ่งที่มีความสามารถเหนือกว่าโปรเจคเตอร์ 16:9 แล้วคุณควรจะเลือกโปรเจคเตอร์แบบไหนดี แบบใดละที่เหมาะกับคุณมากที่สุด 4:3 หรือ 16:9 ? คำตอบต้องขึ้นอยู่กับคุณต้องการที่จะจัดการกับการรับชมโฮมเธียเตอร์ของคุณในแบบไหนมากกว่า ดังนั้นก่อนที่จะซื้อเครื่องโปรเจคเตอร์คุณต้องคิดก่อนว่าคุณจะทำยังไงกับอัตราส่วนของภาพจากภาพยนตร์หรือวีดีโอดีวีดีของคุณ

ถ้าคุณยังใหม่กับเรื่องอัตราส่วนภาพเมื่อเราพูดถึง 4:3 หรือ 16:9 นั่นหมายถึงเรากำลังพูดถึงรูปทรงของขนาดภาพที่เราเห็นจากภาพยนตร์หรือวีดีโอดีวีดี หรือที่เรียกว่า “ Aspect Ratio “ เครื่องรับโทรทัศตามบ้านที่เราใช้กันอยู่มีอัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio) 4:3 นั่นหมายความว่าภาพที่เราเห้นจะมีขนาดกว้าง 4 ส่วนและสูง 3 ส่วน เช่นกันในทีวีรุ่นใหม่ HDTV เป็น 16:9 คือมีอัตราส่วนกว้าง 16 ส่วนและสูง 9 ส่วน ดังนั้นเราจึงเห็น HDTV มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอน ความยาวในแนวนอนของ HDTV จะมากกว่าทีวีแบบธรรมดาที่เราใช้กันอยู่

ปัญหาก็คือไม่ว่าจะเป็นทีวีหรือโปรเจคเตอร์ล้วนแล้วแต่มาพร้อมกับอัตราส่วนภาพเฉพาะที่ไม่เป็น 4:3 ก็จะเป็น 16:9 อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ภาพยนตร์หรือวีดีโอดีวีดีที่มีจำหน่ายในท้องตลาดก็จะทำมาด้วยอัตราส่วน (Aspect Ratio)หลายๆขนาดต่างกัน รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์วีดีโอที่ถูกผลิตด้วยอัตราส่วน 4:3 ซึ่งบางทีจะบอกเป็น “ 1.33 “ (4 หารด้วย 3 = 1.33) และรายการต่างๆหรือภาพยนตร์ที่ผลิตมาสำหรับ HDTV จะเป็นอัตราส่วน 16:9 บางทีก็จะบอกเป็น “ 1.78 “ (16 หารด้วย 9 = 1.78) อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่มีเพียงแค่สองระบบนี้เท่านั้นแต่ยังมีระบบอัตราส่วนภาพต่างๆที่ถูกผลิตขึ้นมาอีกมากมาย ภาพยนตร์ มิวสิกวีดีโอ สิ่งอื่นๆที่บรรจุอยู่ในแผ่นดีวีดีล้วนมาพร้อมกับอัตราส่วนต่างๆกันทั้งสิ้นเช่น 1.33 , 1.78 , 1.85 , 2.00 , 2.35 , 2.4 , 2.5 และอีกมาก ดังนั้นจึงยังไม่มีมาตราฐานที่แน่นอนสำหรับอัตราส่วนของภาพวีดีโอ แต่มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอน นั่นคือไม่ว่าคุณจะใช้โปรเจคเตอร์แบบไหน 4:3 หรือ 16:9 ก็ไม่มีทางที่เครื่องโปรเจคเตอร์ของคุณจะสามารถแสดงภาพให้เหมาะสมกับขนาดอัตราส่วนภาพที่มากับวีดีโอในรูปแบบต่างๆได้เลย ยังไงคุณก็ต้องรับชมภาพในแบบ Native อยู่ดี ดังนั้นถ้าไม่มีวิธีที่สมบูรณ์แบบแล้ววิธีไหนละที่จะเป็นวิธีที่ดีและถูกต้องที่สุดสำหรับการติดตั้งระบบการชมภาพของคุณ ? คำตอบง่ายๆคือ ไม่ว่าโปรเจคเตอร์หรือภาพที่จอจะเป็นขนาดไหน มีสองวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการกับระบบการชมภาพในโฮมเธียเตอร์ของคุณ คุณสามารถได้ภาพแบบ 4:3 จากโปรเจคเตอร์แบบ 4:3 หรือ เลือกใช้โปรเจคเตอร์แบบ 16:9 เพื่อให้ได้ภาพ 16:9 ทั้งสองแบบต่างก็มีข้อดีและข้อเสียซึ่งคุณต้องชั่งน้ำหนักดูว่าจะใช้แบบไหน ไม่มีแบบไหนดีกว่ามันเป็นแค่ความแตกต่างเท่านั้น

ถ้า HDTV หรือ widescreen DVD คือการชมภาพในแบบที่คุณชอบดูแล้วสบายตาก็ไม่ต้องไปคิดมากว่าภาพในแบบ 4:3 จะออกมาเป็นยังไง ใช้ความชอบของคุณเป็นเครื่องตัดสินง่ายที่สุด 16:9 โปรเจคเตอร์ฉายภาพบนจอ 16:9 ดีที่สุดแล้วสำหรับชมภาพแบบ widescreen รายการโทรทัศน์ใหม่ๆสำหรับ HDTV ในบางประเทศก็มีการผลิตมาในแบบ 16:9 เพื่อให้พอดีกับจอโทรทัศน์แบบ 16:9 ซึ่งก็ให้ภาพออกมาดี ข้อดีก็คือคุณจะได้รับชมรายละเอียดทั้งหมดของภาพรวมทั้งอัธรสของการแสดงในแบบ widescreen ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามควรคิดไว้เสมอว่าเมื่อภาพยนตร์ต่างๆถูกนำมาทำเป็นดีวีดีก็จะมีเรื่องของขนาดภาพเข้ามาเกี่ยวข้องให้ปวดหัวแน่นอน มีภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่มีขนาดกว้างกว่า 16:9 แบบปรกติเช่น The lord of the Rings , American Beauty , Star wars/Phantom Menace , Seabiscuit ทั้งหมดมาพร้อมกับอัตราส่วน 2.35:1 ไม่ใช่ 1.78:1 ดังนั้นเมื่อรับชมภาพยนตร์เหล่านี้ด้วยจอ 16:9 คุณจะได้ขอบดำที่ด้านบนและด้านล่างของจอภาพเพิ่มขึ้นมา ขอบดำที่เกิดขึ้นจะมีขนาดประมาณ 12 เปอร์เซนต์ของความสูงของภาพ ขอบดำแม้จะไม่ใหญ่มากนักเมื่อเทียบกับการใช้จอภาพขนาด 4:3 แต่มันก็จะอยู่ที่นั่นตลอดการรับชมของเรา

การ ที่จะทำให้ขอบส่วนเกินนี้ไม่เป็นที่รำคาญต่อสายตาได้นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับ ว่าเครื่องโปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้มืดระดับไหนและก็ขึ้นอยู่กับว่าจอภาพ ชนิดที่คุณใช้ด้วย จอภาพสีขาวทั่วๆไปจะทำให้เห็นขอบส่วนเกินค่อนข้างชัดเจน จอภาพชนิด High Contrast Gray จะ ทำให้ขอบส่วนเกินแลดูมืดลงด้วยจอภาพชนิดนี้และโปรเจคเตอร์ที่มีค่าคอนทรา สสูงๆจะทำให้ขอบส่วนเกินนี้ไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนนักตามที่มันควรจะ เป็น

อย่างไรก็ตามถ้าคุณเป็นคนที่พิถีพิถันต้องการอะไรที่สมบูรณ์แบบและเรื่องเงินก็ไม่เป็นปัญญาสำหรับคุณ คุณคงต้องสั่งอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคพิเศษเพื่อทำให้จอแคบลงตามแนวนอนเมื่อต้องการฉายภาพยนตร์ที่มีขนาดกว้างกว่า 16:9 ปรกติ มัน เป็นอุปกรณ์เสริมที่สั่งซื้อได้พร้อมกับจอรับภาพที่มีลักษณะเป็นแผ่นสีดำ ซึ่งสามารถเปิดหรือปิดขอบด้านบนและด้านล่างของจอภาพเพื่อเปลี่ยนขนาดของ พื้นที่การมองภาพบนจอภาพได้ อุปกรณ์นี้ใช้เพื่อสร้างกรอบสีดำรอบๆภาพสามารถปรับขนาดได้ไม่ว่าภาพยนตร์ที่คุณรับชมจะมีอัตราส่วนแบบใด แต่ด้วยจอรับภาพรุ่นใหม่และโปรเจคเตอร์ที่มีค่าคอนทราสสูงขอบดำส่วนเกินจะมืดมากขึ้นและไม่ค่อยเป็นที่สังเกตุมากนัก

การฉายภาพ 4:3 ด้วยระบบที่เป็นแบบ 16:9

A:ภาพที่ได้จากการฉายโดยไม่มีการปรับแต่งใดๆจะมีขอบดำที่ด้านข้างของภาพทั้งสองด้าน

-------------------------

B:การฉายภาพโดยใช้ฟังชันปรับขนาดที่มีมาพร้อมกับเครื่องโปรเจคเตอร์จะทำการยืดขนาดภาพ 4:3 ออกไปตามแนวนอนเพื่อให้พอดีกับพื้นที่การมองภาพแบบ 16:9 ในการปรับภาพลักษณะนี้ภาพของคนจะแลดูเตี้ยลงและอ้วนผิดปรกติ จริงอยู่ที่มันทำให้มีพื้นที่การมองภาพในแบบ 16:9 แต่ก็ทำให้รูปร่างของวัตถุผิดเพี้ยนไปซึ่งหลายๆคนก็รับไม่ได้เหมือนกัน

----------------------------

C:การใช้การซูมภาพ 4:3 แทน ที่จะใช้การยืดขนาดคือการใช้วิธีง่ายๆโดยการตัดส่วนที่อยู่ด้านบนกับด้าน ล่างของภาพออกและแสดงภาพเฉพาะบริเวณตรงกลางของภาพที่มีขนาดพอดีกับอัตราส่วน 16:9 ภาพที่ได้จะมีขนาดใหญ่กว่าปรกติเหมือนกับเวลาเรามองดูใกล้ๆจอภาพ

----------------------------

D:โปรเจคเตอร์ 16:9 รุ่นใหม่ๆจะมาพร้อมด้วยการแก้ปัญหาในเรื่องอัตราส่วนของภาพเมื่อใช้ชมภาพที่เป็น 4:3 ซึ่งจะทำให้ภาพมีขนาด 16:9 โดยมีความผิดเพี้ยนของภาพน้อยที่สุด กระบวน การนี้จะยังคงสภาพอัตราส่วนดั้งเดิมบริเวณตรงกลางของภาพเอาไว้และทำการยืด ขยายส่วนที่อยู่ด้านข้างออกเพื่อให้ได้พื้นที่การมองภาพขนาดพอดีกับจอ 16:9 บาง ทีวิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วในการที่จะได้มาซึ่งภาพที่เต็มเฟรม และยังใช้ในการแก้ปัญหาของการกระจายสัญญาณโทรทัศน์หรือการส่งสัญญาณทีวีใน ส่วนขอบของภาพที่ไม่ค่อยบรรจุส่วนสำคัญของเนื้อหาไว้มากเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามการตัดส่วนขอบของภาพออกยังต้องทำอย่างรอบคอบเป็นพิเศษ ในการชมภาพหรือภาพยนตร์เก่าๆในแบบ 16:9 ที่มีขอบดำด้านข้างและยังเป็นวิธีเดียวที่จะรับชมภาพให้ได้ในแบบที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการให้เราเห็น

------------------------------

โปรเจคเตอร์ 16:9 เหมาะสมกับระบบ HDTV และ widescreen DVD แต่มันก็มีขอบดำที่ด้านบนและด้านล่างเพิ่มขึ้นมาเมื่อรับชมภาพยนตร์ที่มีความกว้างมากกว่า 16:9 อยู่ดี ทั้งยังต้องการกระบวนการพิเศษในการปรับแต่งอีกเมื่อต้องการใช้กับระบบภาพแบบ 4:3 สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและหลงไหลในระบบโฮมเธียเตอร์ ผลที่ได้จากการชมภาพยนตร์ด้วยระบบ 16:9 นั้นช่างน่าตื่นเต้นและประทับใจมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการรับชมภาพด้วยระบบที่เป็น 4:3 ในทางกลับกันถ้าคุณเป็นกังวนกับข้อเสียที่ได้จากระบบ 16:9 เมื่อใช้ชมภาพแบบ 4:3 หรือไม่ต้องการที่จะต้องมาปรับแต่งระบบดังที่กล่าวมาด้านบนแล้วละก็ คุณก็ควรที่จะเลือกใช้โปรเจคเตอร์แบบ 4:3

ที่มา : http://acs8369.blogspot.com/2007/02/169-43.html

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

e-ink อีอิงค์ โซล่า เซล พลังงาน แสงอาทิตย์

[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] รายงานข่าวเทคโนโลยีวันนี้ Neoluxiim บริษัทจากแดนกิมจิได้พัฒนาจอแสดงผลอีอิงค์ต้นแบบที่สามารถทำงานด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ออกมาแล้ว เหมาะกับการใช้ทำป้ายโฆษณาณ.จุดขาย ซึ่งช่วยให้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตเป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น และช่วยลดปัญหาโลกร้อน


Neoluxiim กล่าวว่า จอแสดงผลอีอิงค์พลังแสงอาทิตย์ (จากแผงโซล่าเซล) นี้จะสามารถทำงานได้ แม้จะมีแค่แสงสว่างภายในห้องเท่านั้น โดยจะทำงานได้นานต่อเนื่องถึง 18 เดือน สำหรับขนาดใหญ่สูงสุดของจอแสดงผลอีอิงค์พลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ที่ 26x12 เซ็นติเมตร และมีความหนาเพียง 7.5 ม.ม. เท่านั้น เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสีเขียวที่น่าสนใจมากทีเดียว

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

DTAC ออก Aircard เตรียมเข้าสู่สมรภูมิ 3G

หลายๆ คนก็คงทราบดีแล้วว่าในที่สุดประเทศไทยก็ใกล้ที่จะมีการแข่งขันการให้บริการ 3G จริงๆ แล้ว วันนี้ DTAC ได้ออก Aircard สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายด้านข้อมูลที่สนับสนุน 3G แล้วครับ โดย Aircard รุ่น E1553 นี้มีคุณสมบัติคือ

  • เชื่อมต่อแบบ USB และเสียบ MicroSD เป็น Flash Drive ได้ ลักษณะคล้ายกับ Aircard ที่ปล่อยให้ทดสอบ 3G กัน
  • สนับสนุน GPRS, EDGE รวมถึง 3G 850/2100 MHz ที่จะเปิดให้บริการในอนาคต
  • มาพร้อมซิมที่สนับสนุน EDGE/GPRS แต่ยังไม่สามารถใช้ 3G ได้ (ติดที่ซิม ถ้าใครมีซิม 3G ของ DTAC ก็ใช้ได้)
  • แบบรายเดือน ราคา 2,700 บาท พร้อมอินเทอร์เน็ต 100 ชั่วโมงนาน 1 เดือน, แบบเติมเงิน ราคา 2,600 บาท พร้อมอินเทอร์เน็ต 10 ชั่วโมงนาน 3 เดือน
  • ไม่ล็อกซิม จะเอามาเสียบซิมทรูเล่น 3G ก็น่าจะได้
  • ประกัน 1 ปี เปลี่ยนคืนได้ใน 30 วัน
  • โปรแกรมเชื่อมต่อต้องการวินโดวส์ (ไม่แน่ใจว่าสาวกเพนกวินกับแอปเปิลจะใช้ได้หรือไม่)

ดูจากราคาแล้วค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เมื่อเทียบกับ Aircard USB ที่ขายอยู่ให้เกลื่อน (ราคา 3,000-4,000 บาท) หาซื้อได้ที่สำนักงานบริการลูกค้าและ dtac center ครับ

ที่มา: DTAC Aircard, กระทู้ใน pantip.com

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

หินดวงจันทร์จากนาซ่าเป็นของปลอม!!!

นาซ่านั้นแจกหินดวงจันทร์ที่อ้างว่าเก็บมาจากดวงจันทร์ไปให้กว่า 100 ประเทศในช่วงปี 1970 เพื่อแสดงความเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศยาน แต่แล้ววันนี้อาจจะเป็นวันหน้าแตกอีกวันหนึ่งของนาซ่าเมื่อพิพิธภัณฑ์ Rijksmuseum แห่งเนเธอร์แลนด์ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ระบุว่าหินที่นาซ่าแจกมานั้นเป็นของ ปลอม

หินก้อนดังกล่าวเป็นหินที่ทูตสหรัฐฯ มอบให้กับนายกรัฐมนตรีของเนเธอร์แลนด์ชื่อว่า Willem Drees Jr ในปี 1969 และเมื่อนายกรัฐมนตรีท่านนี้ได้เสียชีวิตลงก็ได้บริจาคหินก้อนนี้ให้กับทาง พิพิธภัณฑ์ Rijksmuseum นี้

ต่อมามีข้อสงสัยว่าทำไมสหรัฐฯ จึงให้ก้อนหินสำคัญเช่นนี้มาง่ายนัก จึงมีการตรวจสอบโดยนักวิจัยและพบว่าก้อนหินนี้เป็นเพียงไม้ที่กลายเป็นหิน เท่านั้น และมีมูลค่าเพียงไม่กี่พันบาท

สถานทูตสหรัฐฯ ระบุว่ากำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่

ที่มา - PhysOrg

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

NASA มีโครงการใหม่ ให้เราส่งชื่อไปดาวอังคารกับ Mars Science Laboratory rover

จากครั้งที่แล้วที่ได้ส่งชื่อไปดวงจันทร์ คราวนี้ NASA มีโครงการใหม่ ให้เราส่งชื่อไปดาวอังคารกับ Mars Science Laboratory rover (หุ่นยนต์อวกาศสำรวจดาวอังคาร) งานนี้ก็ไม่พลาดอีกตามเคย ไปลงทะเบียนกันเลย


ลงชื่อได้ที่: http://mars9.jpl.nasa.gov/msl/participate/sendyourname/index.cfm
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://mars.jpl.nasa.gov/msl/


วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเข้ารหัสแบบ MD5 คืออะไร?

ถ้าพูดถึงวิธีในการรักษาปลอดภัยของข้อมูล ไม่ให้โดนล้วงไปอ่านง่ายๆ หลายคนจะนึกถึงวิธีเข้ารหัส จะเข้ารหัสยังไงก็ได้ ให้มันอ่านไม่รู้เรื่องเข้าไว้ เพื่อให้คนที่ขโมยข้อมูลไปนั้น ไม่สามารถอ่านได้อย่างง่ายดาย
การเข้ารหัส มันก็มีอยู่สารพัดวิธี สุดแล้วแต่ใครจะคิดได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่โบราณสุดๆ อย่าง Ceasar Cipher ไปจนถึงวิธีที่กำลังนิยมในปัจุบันอย่าง Key-encryption แต่ที่พูดถึงกันมากก็คือ MD5
Ronald Rivest คนคิด MD5 และหนึ่งในผู้ร่วมสร้าง RSA หน้าตาเป็นงี้แหละ

หลาย คนเข้าใจเกือบถูกว่า MD5 เป็นอัลกอริทึมการเข้ารหัสที่ดีวิธีหนึ่ง แต่ความจริงแล้ว มันไม่ใช่ทั้งหมดครับ โดยเนื้อแท้ของ MD5 นั้น มันไม่ใช่การเข้ารหัสข้อมูลเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น การนำ MD5 มาใช้เพียงเพื่อหวังว่าจะช่วยปกป้องข้อมูลของเราได้นั้น คงจะไม่ได้แล้วล่ะครับ

ถ้าพูดตามทฤษฏีก็คือ
MD5 เป็น Hashing Algorithm ครับ ไม่ใช่ Encryption

Hashing Algorithm หรือ Hashing Function นั้น เป็นลักษณะของการนำข้อมูลมาเข้าฟังก์ชันซักตัวนึง เพื่อให้ได้ค่าออกมาอีกค่าหนึ่ง

......แล้ว Hashing Function มันเอาไปเข้ารหัสไม่ได้หรือ?? huh.gif

ก็ แล้วแต่จะนำไปประยุกต์ใช้ครับ แต่ใน MD5 จะใช้ Hashing Function ในการสร้าง Digest ขึ้นมา เจ้า Digest เนี่ย จะเป็นข้อมูลที่มีความยาวคงที่ 128 bits ไม่ว่าข้อมูลจะมหาศาลซักเท่าใดก็ตาม ซึ่ง Digest ก็จะได้มาจากผลลัพธ์ของการนำข้อมูลของเรา ไปเข้า Hashing Function นี่แหละครับ

บางคนหัวใส(ไม่ใช่หัวล้าน) เอา Digest ไปย้อนกลับเข้า MD5 อีกครั้งนึง...หมดสิทธิ์ครับ เพราะ MD5 เป็นฟังก์ชันในลักษณะของ One-way Function เอาคำตอบย้อนกลับทำวิธีเดิมในลักษณะตรงกันข้าม หรือย้อนกลับเข้า Input อีกรอบ ก็ไม่ได้ค่าเดิมครับ tongue.gif

ข้อมูล 1 ตัว เมื่อนำไปผ่าน MD5 จะได้ Digest ขึ้นมา 1 ตัว เช่น
Thaiflashdev จะมี Digest เป็น 9e1afdaa0bac2ace1c692d711af10b6c
และถ้าลองเปลี่ยนข้อมูลซักนิดนึง ให้เป็น Thaiflashdef ก็จะได้ Digest เป็น a405441b6ed5edafcef1062cac13da33

จาก ตัวอย่างนี้จะเห็นว่า แม้ข้อมูลเปลี่ยนไปเพียงนิดเดียว Digest ที่ได้จาก MD5 นั้น จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากเลยทีเดียว ฉะนั้นถ้าจะหวังว่าเพิ่มข้อมูลไป 1 ตัวแล้วเพิ่มค่า Digest ขึ้นอีก 1 นี่หมดสิทธิคับ วิธีตื้นๆ นี้ใช้กับ MD5 ไม่ได้หรอกครับ แต่ด้วยความที่ MD5 มันเปิดเผยอัลกอริทึมนั้น เราสามารถหา Digest ได้โดย....เอ่อ ไม่บอกดีกว่าคับ (แค่นี้ก็ชี้โพรงแล้ว อิอิ)

เมื่อผู้ส่งมีข้อมูล และมี Digest ที่ได้จาก MD5 แล้วทำอะไรได้??
...ก็ส่งไปให้ผู้รับสิครับ จะเก็บไว้ทำไม ถามได้ เอ้อ dry.gif

คราว นี้พอผู้รับ รับข้อมูลมา ก็เอาข้อมูลที่ได้รับ(ไม่รวม Digest) ไปผ่าน MD5 เพื่อหา Digest อีกรอบ เสร็จแล้วก็เอา Digest ที่เพิ่งได้นี้ มาเทียบกับ Digest ที่ได้รับมาจากผู้ส่ง ถ้าตรงกัน แสดงว่าข้อมูลที่ได้รับถูกต้องครับ ไม่มีใครมาทะลึ่งแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น (หรือไม่มี error ระหว่างส่งข้อมูล ประมาณว่าบิต 0 กลายเป็นบิต 1) rolleyes.gif

จากลักษณะการรับส่ง ข้อมูลโดยมี MD5 มาช่วยรักษาความปลอดภัยนั้น จะเห็นว่า มันไม่ได้ปกปิดข้อมูลอะไรให้เราเลย MD5 เพียงแค่ช่วยในเรื่องของความถูกต้องของข้อมูลเท่านั้นเองครับ (Data Integrity)

เนื่องจากว่าในเรื่องของความปลอดภัยนั้น ต้องมีคุณสมบัติอยู่ 3 ตัวคือ
1. Secracy การปกปิดข้อมูล
2. Authentic การยืนยันตัวตนผู้ใช้ (การใช้พาสเวิร์ด เป็นเพียงแค่ Identifier ยังไม่ถึงขั้น Authentic นะครับ แต่ก็พอกล้อมแกล้มได้)
3. Integrity การคงสภาพข้อมูล

แต่ MD5 ช่วยได้แค่ข้อ 3 เท่านั้นเอง ดังนั้นเราต้องหาวิธีอื่นๆ มาเสริมอีก 2 ข้อที่เหลือครับ ซึ่งก็แล้วแต่ครับ ว่าอยากได้ความปลอดภัยระดับไหน

ใน การใช้งานจริง เท่าที่ผมเคยเห็น จะมีการใช้ Encryption เข้ามาช่วย เพื่อปกปิดตัวข้อมูล หรือปกปิดตัว Digest ครับ ไม่ให้มองเห็นและแก้ไขได้ครับ หรือถ้าใครชอบดาวน์โหลด มักจะเห็นว่าข้างๆ Link สำหรับดาวน์โหลดจะมีเขียนไว้ว่า MD5: ....แล้วตามด้วย Digest นะครับ นั่นแหละครับ เอาไว้ให้ผู้ใช้เอา Digest นี้ไปตรวจสอบว่าแฟ้มที่เราดาวน์โหลดไป มีข้อมูลถูกต้องหรือไม่ ตามวิธีที่ได้บอกไปข้างต้นนั่นแหละครับ

ว่าไป MD5 ก็ไม่ใช่จะไม่มีจุดบกพร่องนะคับ มีเหมือนกัน แต่ที่ผมจำได้ก็คือ มันสามารถเกิด Digest ซ้ำกันได้ครับ แต่โอกาสเกิดก็น้อยมากครับ คนทั่วไปอย่างเราคงไม่สนใจจุดนี้อยู่แล้วล่ะ (แต่ในระดับสูงแล้ว บกพร่องนิดเดียวก็ไม่ได้ครับ)

ทีมา : http://www.ez-admin.com/2009-03-11-11-12-48.html?func=view&catid=5&id=122

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กูเกิลมาทำระบบปฏิบัติการแล้ว

หลังจากที่ปีที่แล้วกูเกิลได้ทำการปล่อยเบราเซอร์ ตัวแรกออกมาให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ลองใช้กัน เกิดเสียงฮือฮาขึ้นมากมาย และบัดนี้กูเกิลกลับมาพร้อมกับ Google Chrome Operating System

โดยในบล็อกได้บอกไว้ว่าระบบปฏิบัติการนั้นจะเป็นโอเพ่นซอร์ส ที่มีเป้าหมายผู้ใช้อยู่บนเครื่องเน็ทบุค ตามแผนคือจะทำการเปิดซอร์สโค้ดช่วงหลังของปีนี้ ส่วนเน็ทบุคที่ใช้ระบบปฏิบัติการจะเริ่มให้เห็นได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2010

ตัวระบบปฏิบัติการนั้นจะเน้นที่ความเร็ว ความเรียบง่าย และความปลอดภัย โดยบอกว่าจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ทได้ในไม่กี่วินาทีหลังจากเปิดเครื่อง เลยทีเดียว โดยระบบปฏิบัติการจะมีหน้าตาเข้าใจง่ายเช่นเดียวกับตัวโครมที่เป็นเบราเซอร์ และทางกูเกิลยังได้ทำการออกแบบสถาปัตยกรรมทางด้านความปลอดภัยใหม่ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับมัลแวร์ ไวรัส หรือแพทช์อัพเดทอุดช่องโหว่ใดๆ

ตัวระบบปฏิบัติการนั้นรองรับทั้ง X86 และ ARM แต่จุดประสงค์ของ Chrome OS นั้นแตกต่างจากแอนดรอยด์อยู่พอควร เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของแอนดรอยด์คือตั้งแต่มือถือไปจนถึงเน็ทบุค แต่กลุ่มเป้าหมายของ Chrome OS นั้นอยู่ที่เน็ทบุคขนาดเล็กไปจนถึงเครื่องตั้งโต๊ะที่มีผู้ใช้แต่ละวันใช้ เวลากับการทำงานต่างๆบนอินเทอร์เน็ท แน่นอนว่ามีจุดที่ทับซ้อนกันอยู่ระหว่างสองระบบนี้ และทางกูเกิลหวังว่านวัตกรรมจะผลักดันตัวเลือกที่ดีที่สุดในส่วนที่ทับซ้อน กันนี้แก่ทุกคน รวมถึงตัวกูเกิลเองด้วย

ที่มา - Official Google Blog

นอกเรื่องนิด - ช่วงนี้หวัดระบาดรุนแรงมากทั้งหวัดธรรมดา และหวัดพันธุ์ใหม่ (ไม่อยากเรียกว่า 2009 เท่าใหร่) แต่ไม่ว่าจะหวัดชนิดใดตอนนี้ก็ระบาดเยอะทั้งคู่ ระมัดระวังตัวด้วยนะครับ ผู้เขียนเองก็หวัดกินไปแล้ว ขอให้ผู้อ่านสุขภาพแข็งแรงครับ

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Unix เบื้องต้น

1. Unix
เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้ ในปัจจุบันพบว่าระบบ Unix ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีขนาดใหญ่ราคาแพง เช่น SunOS IBM AIX HP เนื่องจากได้มีกลุ่มคิดค้นระบบ Unix ที่สามารถใช้กับเครื่อง PC 486 ธรรมดา เราเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า Linux เขียนได้ใช้ระบบดังกล่าวเป็นระบบหลักในการศึกษาและเขียนเป็นตำราใน http://passkorn.hypermart.net

2. Unix Kernel
Kernel เป็นส่วนของ Unix ที่ทำหน้าที่จัดการ Hardware ต่างๆของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ CPU เครื่องพิมพ์ CD ROM ฯลฯ
ในปัจจุบันจะพบว่ามี Unix Kernel Programes ผลิตออกมาหลายบริษัทด้วยกัน เช่น Unix System V , BSD Unix ฯลฯ

3.Shell

โดยปกติผู้ใช้จะไม่สามารถติดต่อหรือใช้ Unix Kernel โดยตรง แต่จะมี software ที่เป็นตัวตีความหมายคำสั่งของผู้ใช้ให้กับ Unix Kernael อีกทีหนึ่ง ดังภาพ

Software ที่ทำหน้าที่นี้เรียกโดยทั่วไปว่า "Shell" เช่นกันก็จะมีผู้ผลิต Shell ขึ้มาอย่างมากมาย แต่ที่นิยมใช้งานมากที่สุดคือ "Bourne Shell" ซึ่งถูกเรียกตามผู้คิด คนแรกก็คือ Steven Bourne จะสามารถสังเกตได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน Bourne Shell จะมี "พร้อม" (prompt) เป็น $ "C shell" เป็น shell ที่นิยมใช้กันมากเช่นกัน โดยผู้เขียนคนแรก ก็คือ Bill Joy (เป็นคนเขียน vi บนยูนิกซ์ด้วยเช่นกัน) ปัจจุบัน Bill Joy ทำงาน ให้กับบริษัท Sun Microsystems (เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทคนหนึ่งด้วย) "C shell" จะมีเครื่องหมาย prompt เป็น % และยังมี "Korn shell" มี prompt เป็น $ Korn shell เป็นการนำเอาข้อดีของ Bourne และ C shell มารวมกัน ถ้าจะเข้าสู่ C shell ให้พิมพ์ csh ถ้าจะเข้าสู่ Korn shell ให้พิมพ์ ksh ส่วนใหญ่เมื่อผู้ใช้ login ระบบเข้ามามักจะเป็น Bourne

ที่มา : http://www.thaiwbi.com/course/unix/index2.html

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เมื่อไมโครซอฟท์เปิดเทคโนโลยีเคอร์เนลให้มาสอนเด็กมหาวิทยาลัย

ทางบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้เป็นเจ้าภาพส่งผมและอาจารย์หลายท่านจากมหาวิทยาลัยไทยไปเข้างานสัมมนาและ อบรม 2009 Asia Pacific Windows Core Workshop ระหว่างวันที่ 11-13 เดือนมีนาคมที่ผ่านมา งานนี้จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยมีไมโครซอฟท์รีเสิร์ชแล็บที่ปักกิ่งเป็นเจ้าภาพร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ปักกิ่ง งานนี้เขาพาไปสอนการทำงานของวินโดวส์เคอร์แนล และแจกซอร์สมาให้ลองศึกษาเล่นเพื่อสอนเด็กมหาวิทยาลัยไทยครับ สุดยอดมาก

การที่มีการสัมมนานี้เกิดจากทางไมโครซอฟท์พบว่าการเรียนการสอนด้านระบบ ปฏิบัติการทั้งโลก ถ้าลงลึกแล้วสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะใช้ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์เป็นหลัก เนื่องจากการที่เราจะศึกษาระบบปฏิบัติการให้ลึกแบบนักชีววิทยาเขาผ่ากบนั้น ต้องมีซอร์สโค้ด ทางยูนิกซ์ก็มีซอร์สของบีเอสดี (BSD) ให้เล่น ส่วนลีนุกซ์นั้นหายห่วงมีทุกอย่างให้แกะดูได้หมด ทางไมโครซอฟท์เลยลำบากรับคนมาทีได้แต่คนเล่นลีนุกซ์เสียหมด ดังนั้นทางไมโครซอฟท์รีเสิร์ชเอเชีย (MSRA) จึงได้ขอให้ทีมทางระบบปฏิบัติการจัดทำชุดซอฟต์แวร์สำหรับการเรียนการสอนวิชา ระบบปฏิบัติการขึ้น ประกอบด้วย หนึ่ง WRK (Windows Research Kernel) ซึ่งเป็นซอร์สของเคอร์เนลวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ที่แก้ไข คอมไพล์ แล้วรันได้จริงๆ (จริงนะครับ ลองทำมากับมือ) สอง CRK (Curriculum Resources Kit) ซึ่งเป็นเอกสารและเพาเวอร์พอยต์กองใหญ่ที่อธิบายเรื่องการออกแบบและการทำงาน ภายในของวินโดวส์เอ็นที สาม Project OZ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะใช้ศึกษาระบบปฏิบัติการในโหมดของยูสเซอร์โดยไม่ต้อง ไปแก้เคอร์เนล ของเหล่านี้อยากจะกระตุ้นให้บรรจาอาจารย์ทั้งหลายเอาเรื่องวินโดวส์ไปสอน เด็กมากขึ้น ดูแล้วน่าเล่นมากเลยครับ

พอฝ่าอากาศหนาว (ราว 8 องศา) ในปักกิ่งไปถึงงานสัมมนา โดยสถานที่จัดอยู่ที่ห้องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นส่วนใหญ่ เขาก็เริ่มโดยให้ คุณเดฟ โปรเบิร์ต (Dave Probert) ซึ่งเป็น Kernel Architect จาก Windows Core Operating System Division มาเล่าให้ฟังเรื่องสถาปัตยกรรมของวินโดวส์ ท่านเดฟนี่ระดับเทพเรื่องระบบปฏิบัติการเลยครับ ไม่เชื่อลองดูหนังสือระบบปฏิบัติการแสนฮิต Operating System Principles 7th Edition ของ Silberschatz ที่ใช้กันมากมายในเมืองไทยสิครับ ในบทกิติกรรมประกาศตอนต้นหนังสือบอกเลยว่าบทที่ 22 ที่ว่าด้วยวินโดวส์เอ็กซ์พีนั้นเอามาจากเอกสารที่ท่านเดฟเขียนเอาไว้ครับ ท่านเดฟก็มาเล่าให้ฟังวินโดวส์เอ็นที นั้นเกิดมาจาก VMS นะครับ ดังนั้นหลักการออกแบบจะไม่เหมือนยูนิกซ์ ท่านร่ายยาวว่า ยูนิกซ์นั้นออกแบบมาในยุค 1970 กว่าๆ ที่ ซีพียูช้า แรมน้อย ดิสก์เล็ก เทคนิคที่ดีในสมัยนั้นไม่ใช่ว่าจะดีในสมัยนี้แล้วเพราะไปพยายามแก้ปัญหาที่ ไม่ใช่ปัญหาในระบบสมัยนี้ ท่านยังแซวว่าคนที่เรียนเรื่องระบบจากยูนิกซ์ชอบคิดว่าแนวคิดที่พ้นสมัย บางอย่างนั้นเป็นของเลอเลิศโดยไม่รู้เหตุผลเบื้องหลังเลย ส่วนวินโดวส์เอ็นทีนั้นใช้สมมุติฐานการออกแบบมาจากระบบราวปี 1990 คล้ายๆ กับเครื่องยุคปัจจุบัน เดฟยกตัวอย่างของการที่วินโดวส์เอ็นทีคุมการระบุชื่อออปเจค์โดยออปเจคเม เนจอร์ โดยไม่ผูกกับระบบไฟล์เหมือนยูนิกซ์ ทำให้วินโดวส์มีแนวโน้มจะทำพวกไคล์เอนต์แบบไร้ดิสก์ได้ดีกว่าอย่างไร

ผมว่าเวลาสองสามชั่วโมงที่ฟังท่านเดฟเล่าเรื่องวินโดวส์ เหมือนไปขึ้นเขาบู็ตึงฝึกมวยไท้เก๊กกับปรมาจารย์จางซานฟง ยังไงยังงั้น คือ ผมว่างานนี้คนฟังถ้าไม่สำเร็จยุทธก็จะกระอักเลือดฟุบคาโต๊ะแน่นอน โชคดีที่ผมทำงานด้านระบบปฏิบัติการและสอนมาสิบกว่าปี เลยรอดลงเขามาได้ครับ

ตอนกินข้าวโชคดี ทางท่านเดฟมานั่งกับเราชาวไทยแถมนั่งติดกับผม เดฟเล่าให้ฟังว่าตอนนี้เขากำลังออกแบบวินโดวส์ 8 และวินโดวส์ 9 อยู่ และท่านเดฟบอกผมว่าตอนนี้ด้านระบบปฏิบัติการแล้วกำลังน่าสนใจมาก เพราะฮาร์ดแวร์มีการเปลี่ยนแปลงมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องมัลติคอร์ การเป็นไฮบริดคอมพิวติ้ง (คือการเอาฮาร์ดแวร์อื่นเช่น การ์ดแสดงผลมาทำงานร่วมประสานกับซีพียู) ทำให้เราต้องคิดออกแบบด้วยหลักการใหม่ๆ ที่จริงท่านท้าในห้องให้พวกเราฉีกตำราทิ้งแล้วถามตัวเองว่าระบบปฏิบัติการ แห่งอนาคตสำหรับปี 2010 กว่าๆ น่าจะเป็นอย่างไร

ภาคบ่าย หลังอิ่มมาท่านเดฟก็ร่ายต่ออย่างรวดเร็วจนจบ ตามด้วยทางทีมมาสอนแล็บ ผมว่าดีมากและน่าตื่นตาตื่นใจเป็นที่สุด ทางทีมไมโครซอฟท์มีคุณอาร์คาดี้ รีติกค์ (Arkady Retik) มาพูดคร่าวๆเรื่องการใช้ WRK/CRK ที่ให้และแจกแผ่นซีดีด้วย จากนั้นคุณเซอร์เก ลิดิน (Serge Lidin) มาสอนแลป หลักการคือ ทางไมโครซอฟท์จะแจกเวอร์ช่วลพีซี 2007 (Vistual PC 2007) และเวอร์ชวลแมชีนของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ที่สามารถใช้งานได้ในเวอร์ชวลพีซีมาให้ เราสามารถจะใช้ Visual Studio Express 2005 ที่ลงไว้คอมไพล์และสร้างเคอร์เนลใหม่จากซอร์สที่ให้มาได้

การคอมไพล์เคอร์เนลก็ง่ายและเร็วมากเลยครับ ใช้เวลาไม่กี่นาทีเอง พอได้เคอร์เนลวินโดวส์เป็น DLL แล้ว ก็เอาไปลงใน C:\Windows\System32 ของวินโดวส์ที่รันในเวอร์ช่วลแมชีน หลังจากนั้นก็แก้ Boot Profile อีกหน่อย พอสั่งรีบูทเราสามารถเลือกเคอร์เนลเราได้ทันที เท่มาก ที่เด็ดกว่านั้นคือ เคอร์เนลที่ให้มีดีบักโหมด เราสามารถบอกเวอร์ชวลพีซีให้รอการเชื่อมต่อจากดีบักเกอร์ภายนอกได้ ทำให้เราใช้ดีบักเกอร์ windbg เชื่อมกับเคอร์เนลแล้วหยุดหรือ single step เคอร์เนลในเวอร์ชวลแมชีนได้ แค่นี้ผมก็ตาโตเท่าไข่ห่านแล้วครับ

สำหรับวันที่สอง ตอนเช้าเป็นการให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยในจีนและเกาหลีมาเล่าให้ฟังเรื่อง การนำ WRK/CRK ไปสอน ผมว่าเขาลงลึกกว่าเรามาก เขาใช้ TA มากกว่าเราทำให้อาจารย์หนึ่งคนสอนเด็กได้มากกว่าเรามาก ตอนบ่ายก็มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยซินหัว กับ เป่ยหัง มาสอนให้ฟังเรื่องการสร้างซิสเต็มคอลล์ใหม่ในวินโดวส์ว่าทำได้อย่างไร ทำประเดี๋ยวก็ได้เลยครับ ยอดมาก

วันสุดท้าย เป็นการไปเยี่ยมไมโครซอฟท์รีเสิร์ชแล็บที่ปักกิ่ง เข้าไปที่ห้องสาธิตเขาก็แสดงของใหม่ๆ สองสามอย่าง คนก็ไปมุงโต๊ะไมโครซอฟท์เซอร์เฟสกันใหญ่ ผมกับรุ่นน้องแอบค่อนแคะว่าเป็นไอพอดทัชขนาดเท่าโต๊ะนั่นเอง แต่ก็สวยดีนะครับ เขาก็มาแสดงงานใหม่ๆ เช่น ฟีเจอร์ใหม่ๆใน ไมโครซอฟท์เวอร์ชวลเอิร์ธ เป็นต้น บ่ายๆ งานหมดแล้ว ทั้งทีมเลยไปดูวังต้องห้ามกัน หนาวมากๆ เลยแต่สวย ดูแล้วแปลกดี เช้าดูของไฮเทค บ่ายดูของโบราณ แต่ทั้งคู่ก็แสดงให้เราเห็นความยิ่งใหญ่ของจีนครับ

งานนี้ต้องขอบคุณทางไมโครซอฟท์ประเทศไทยที่ทำให้ผมได้เปิดหูเปิดตา ได้แผ่นเพาเวอร์พ้อยต์มาสอนหนังสือเทอมหน้าโดยไม่ต้องเตรียม ขอขอบคุณคุณศิริพรและคุณกิจจาที่ทำตัวเป็นเจ้าภาพที่น่ารักตลอดงาน และทำให้พวกเราได้กินเป็ดปักกิ่งเจ้าเก่าที่ดังที่สุดและอร่อยประทับใจทุกคน ครับ (ตัวที่ล้านกว่าแล้วที่เขาย่างขายมาราวร้อยกว่าปี) อาจารย์ท่านใดสนใจก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไปทางไมโครซอฟท์ประเทศไทย ได้นะครับ

ที่มา : http://www.blognone.com/node/11036

ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสให้คอมพิวเตอร์ด้วย Panda USB Vaccine

Panda USB Vaccine เป็นโซลูชันการออกแบบมาเพื่อป้องกันการคุกคามไว้รัส
นี้มันมีสองชั้นป้องกันการคุ้มครองให้ผู้ใช้ในการปิดการใช้งานคุณสมบัติ
อัตโนมัติในคอมพิวเตอร์รวมทั้งในยูเอสบีไดร์ฟและอุปกรณ์อื่นๆ

Vaccine for computers : นี่คือ 'วัคซีน' สำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการอัตโนมัติจากแฟ้มทำงานไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท
(เมมโมรี่สติ๊กซีดีเป็นต้น) เป็นไวรัสหรือไม่ใช้.

Vaccine for USB devices : นี่คือ 'วัคซีน' เพื่อถอดอุปกรณ์ USB,
ป้องกันการทำงานอัตโนมัติของแฟ้มจากการเป็นแหล่งที่มาของการติดเชื้อเครื่องมือปิดการใช้งานไฟล์นี้ดังนั้นจึงไม่สามารถอ่านแก้ไขหรือแทนที่ด้วยรหัสที่เป็นอันตราย
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากไม่มีวิธีง่ายๆของการปิดใช้งานคุณลักษณะ อัตโนมัติใน Windows.
ที่ให้ผู้ใช้ที่มีวิธีง่ายๆในการปิดใช้งานคุณลักษณะนี้ให้สูงระดับการ ป้องกันการติดเชื้อจากไดรฟ์ที่ถอดออกได้และอุปกรณ์.

Download Freeware : http://www.pandasecurity.com/homeusers/downloads/usbvaccine/

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แล้วไปทำอะไรได้บ้าง

การสำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไม่จำเป็นว่าตองทำงานด้านคอมพิวเตอร์ แต่ทำอะไรก็ได้ที่ใจรัก บางคนอยู่กับบ้านก็ทำงานได้ คือทำอาชีพอิสระไป หรือรับเขียนโปรแกรมอยู่กับบ้านก็ยังมี หรือจะเปิดร้าน Internet cafe ก็ยังมีกันมากมาย .. สรุปว่าจบคอมพิวเตอร์แล้ว มีอาชีพรองรับมากมาย หลายอาชีพไม่ต้องทำคอมพิวเตอร์เป็นก็ยังได้ เช่น เลขาฯ หรือธุรการเป็นต้น ขอพิมพ์ word เป็นก็ ok แล้ว
    อาชีพของนักคอมพิวเตอร์
    แบบที่ 1 : เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์, Programmer, System Analyst, IT Director, CIO
    แบบที่ 2 : ดูแลระบบบริการ ความปลอดภัย เครือข่าย หรือ Hardware Maintenance
    แบบที่ 3 : เปิดร้าน Internet หรือร้านขายคอมพิวเตอร์
    แบบที่ 4 : Graphic Creator, Special Effect หรือ Multimedia
    แบบที่ 5 : ครู อาจารย์ หรือติวเตอร์
    แบบที่ 6 : ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต เช่น e-Commerce, e-Learning, e-Service

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Google AdSense คืออะไร

Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

โฆษณาที่ส่งมาจาก Google นั้น ๆ มีทั้งแบบ Text ,รูปภาพ และมีหลายขนาด ให้คุณได้เลือก นอกจากนั้นยังสามารถเลือกรูปแบบสีได้ตามความต้องการ เพื่อความเหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณ
แล้วโฆษณาต่าง ๆ เหล่านั้นมาจากไหน ??? หลายคงอาจสงสัย โฆษณาต่าง ๆ เหล่านั้นมาจากการทำ Google Adwords ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่ให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โฆษณาสินค้าของตนเอง ผ่าน Search Engine ของ google รวมถึงเว็บไซต์อื่นๆ ที่นำ Google Adsense ไปติด เพื่อให้โฆษณาของตนเองอยู่ในตำแหน่งที่เด่น (เมื่อ Search ใน Google) กว่าข้อมูลอื่นที่ได้ผลลัพท์จากการค้นหา

รายได้จาก Google AdSense จะเกิดตอนไหนจะมีอยู่ 2 กรณีครับคือ
• จ่ายเมื่อคลิก (Pay Per Click)เมื่อคนที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ คลิกที่โฆษณาของ Google AdSense ซึ่งแต่ละคลิกจะได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำ Google Adwords จ่ายให้ Google มากน้อยเท่าไร ถ้าจ่ายให้มากคุณก็จะได้มากด้วยเช่นกัน
• จ่ายเมื่อแสดงโฆษณา (Pay Per Impression)อันนี้จะจ่ายให้คุณเมื่อมีการแสดงโฆษณา ครบ 1,000 ครั้ง โดยไม่นับว่าจะมีคนคลิกกี่ครั้งก็ตาม คุณจะไม่ได้รายได้จากการคลิก
Custom Search